Page 49 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 49
กรณีศึกษาโครงการลงทุนโดยตรงของไทยในลาว
เส้นทางเดินเรือท่องเที่ยวที่ส�าคัญอย่างเมืองห้วยทราย-หลวงพระบางที่ชาวบ้านมีราย
ได้หลักจากนักท่องเที่ยวกว่าล้านคนต่อปี หรือการเคลื่อนย้ายอพยพแรงงานจากลาว
เข้ามายังประเทศไทยเนื่องจากสูญเสียวิถีชีวิตดั้งเดิม
การตรวจสอบโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
อยู่ในระหว่างการตรวจสอบของกสม. (ผู้ร้องได้ยืนเรื่องร้องเรียนเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2559)
ประเด็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน
ชาวบ้านจากฝั่งลาวประมาณ 6,700 คน ใน 25 หมู่บ้าน จะต้องอพยพออก
54
จากพื้นที่ เนื่องจากได้รับผลกระทบโดยตรงจากเขื่อน
55
ตลอดกระบวนการชี้แจงและปรึกษาหารือนั้น ประเด็นข้อห่วงกังวลต่าง ๆ
ของภาคประชาชนคือการต้องการข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่กลับไม่มีหน่วย
งานใดเผยแพร่หรือด�าเนินการให้ข้อมูลประกอบ และการจัดการรับฟังความคิดเห็น
ในแต่ละครั้งก็ไม่ครอบคลุมพื้นที่ริมฝั่งแม่น�้าโขงที่ได้รับความเดือดร้อนจากโครงการ
เขื่อนไฟฟ้าพลังน�้าปากแบ่ง โดยจัดขึ้นเพียง 3 จังหวัดจาก 8 จังหวัดที่ติดริมโขงเท่านั้น
เอกสาร Prior Consultation Process for the Pak Beng Hydropower
Project ที่โครงการจัดท�าขึ้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2560 มีข้อมูลการศึกษาไม่เพียงพอ
เนื่องจากการศึกษาผลกระทบของเขื่อนต่อพันธุ์ปลาและการประมงมีการเก็บข้อมูล
เพียง 6 พื้นที่โดยรอบโครงการเท่านั้นทางปลาผ่านไม่มีความชัดเจนไม่มีข้อมูล
พันธุ์ปลาที่ชัดเจน และการศึกษาผลกระทบทางด้านสังคมมีการศึกษาเพียงระยะ 5
กิโลเมตรเท่านั้น ไม่กล่าวถึงผลกระทบตอนบนที่จะเกิดกับกลุ่มชาวประมงอาชีพที่
ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่เหนือเขื่อน โดยเฉพาะในส่วนของประเทศไทยตั้งแต่พื้นที่แก่งผาได
อ�าเภอเวียงแก่น จนถึงบ้านปากอิง อ�าเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ประกอบกับไม่ได้
น�าข้อมูลที่ได้ท�าการศึกษาไว้แล้วของคณะกรรมาธิการลุ่มแม่น�้าโขง
54 NGOs Demand Halt to Pak Beng Dam in Laos. http://www.rfa.org/english/news/laos/dam-
06222017164057.html
55 การด�าเนินการให้ข้อมูลโครงการไฟฟ้าพลังน�้าเขื่อนปากแบง สปป. ลาวตามระเบียบปฏิบัติของคณะ
กรรมาธิการแม่น�้าโขง เรื่อง การแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้าและข้อตกลงครั้งที่ 4. http://www.tnmc-is.
org/wp-content/uploads/2017/05/1.สรุปกระบวนการ-PNPCA.pdf
45