Page 42 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 42
รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ
ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
การตรวจสอบโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
กสม. มีมติยุติการตรวจสอบ เนื่องจากผู้ร้องได้ส่งเรื่องร้องเรียนไปยังศาล
ปกครอง และศาลปกครองมีค�าสั่งรับเรื่องร้องเรียนเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 ใน
การประชุมครั้งที่ 38/2558 วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 (รายงานผลการพิจารณาที่
1171/2558)
ประเด็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน
การที่รัฐบาลลาวเป็นเพียงประเทศเดียวที่ไม่ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อ
โครงการไฟฟ้าพลังน�้าเขื่อนไซยะบุรี ตามกระบวนการ PNPCA ของคณะกรรมาธิการ
แม่น�้าโขงสะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ไม่ได้เปิดโอกาสให้
ประชาชนโดยเฉพาะประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการสูญเสียที่อยู่อาศัยและ
โอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิล�าเนา และกลุ่มภาคประชาสังคมในประเทศลาวได้
แสดงความคิดเห็นใด ๆ ต่อการก่อสร้างโครงการเขื่อนไซยะบุรีเลย
ประเด็นช่องว่างของกฎหมายและความรับผิดชอบ
ช่องว่างของความรับผิดชอบในธนาคารที่ปล่อยกู้ที่อ้างว่าได้ปฏิบัติถูกต้อง
ตามกฎหมายแล้วโดยไม่ใส่ใจกับปัญหาที่เกิดจากช่องโหว่ของกฎหมาย ไม่ใส่ใจในการ
แสดงความรับผิดชอบโดยตรงต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ขาดกระบวนการการประเมิน
ความเสี่ยงที่สถาบันการเงินสามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาประเมิน และจัดการ
ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของโครงการต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการ
ปล่อยกู้ให้แก่โครงการขนาดใหญ่ที่อาจส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ตามหลัก
Equator Principles (ธนาคารพาณิชย์ทั้ง 6 แห่งที่ปล่อยกู้ ยังไม่ได้ลงนามรับหลักการ
39
ดังกล่าวนี้)
การอาจมีส่วนได้เสียจากการถือหุ้นทางอ้อมผ่านกองทุนในบริษัทผู้พัฒนา
โครงการของหน่วยงานภาครัฐและยังไม่มีกลไกตรวจสอบผลประโยชน์ทับซ้อน
39 สินเชื่อ สิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน โดย สฤณี อาชวานันทกุล, 18 เมษายน 2556http://thaipubli-
ca.org/2013/04/xayaburi-and-equator-2/
38