Page 53 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 53

สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ



            2.7 กฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องกับการผังเมือง


                    การศึกษานี้ได้เริ่มขึ้นในช่วงเวลาที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ยังไม่ได้

            ถูกยกเลิก และรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวนี้ ได้ให้ความสำาคัญของการมีส่วนร่วมและการใช้ประโยชน์จาก
            ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองไว้ จึงนำาสาระที่ได้กำาหนดไว้มาประกอบ

            การศึกษาในเรื่องการดำาเนินการในกระบวนการผังเมือง การใช้สิทธิการมีส่วนร่วมและสิทธิชุมชน


                    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในด้านการ
            พัฒนาที่เกี่ยวข้องกับแนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงว่า รัฐต้องปฏิรูป

            ระบบนโยบายการใช้ที่ดินทั้งระบบโดยการกำาหนดเกณฑ์และมาตรฐานการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน คำานึงถึง

            สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่นให้ครอบคลุมทั้งประเทศ ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับ
            สภาพแวดล้อมและประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย


                    การดำาเนินกิจกรรมด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินและการผังเมืองของประเทศไทย จะต้องมีการกำาหนด

            นโยบายเพื่อเป็นกรอบในการดำาเนินงานของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งโดยปกติแล้วนโยบาย
            เหล่านั้นจะปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญที่กำาหนดนโยบายเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ

            ดำาเนินงาน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ตามนโยบายด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินและผังเมืองในบทบัญญัติ

            ของกฎหมายรัฐธรรมนูญและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                    การผังเมืองมีการใช้บังคับโดยกฎหมายจึงมีความเกี่ยวพันกับกฎหมายอื่นๆ ตั้งแต่กฎหมาย

            รัฐธรรมนูญลงมาถึงกฎหมายฉบับต่างๆ อันมีสาระเกี่ยวกับพื้นที่ตามนิยามการผังเมืองในพระราชบัญญัติ
            การผังเมือง พ.ศ. 2518 หมายความว่า การวาง จัดทำา และดำาเนินการให้เป็นไปตามผังเมืองรวมและ

            ผังเมืองเฉพาะในบริเวณเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้อง หรือชนบท เพื่อสร้างหรือพัฒนาเมืองหรือส่วนของเมือง

            ขึ้นใหม่ หรือแทนเมืองหรือส่วนของเมืองที่ได้รับความเสียหาย เพื่อให้มีหรือทำาให้ดียิ่งขึ้นซึ่งสุขลักษณะ

            ความสะดวกสบาย ความเป็นระเบียบ ความสวยงาม การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน คว�มปลอดภัยของ
            ประช�ชนและสวัสดิภ�พของสังคม เพื่อส่งเสริมการเศรษฐกิจ สังคมและสภาพแวดล้อม เพื่อดำ�รงรักษ�

            หรือบูรณะสถานที่และวัตถุที่มีประโยชน์หรือคุณค่าในทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ หรือ

            โบราณคดี หรือเพื่อบำ�รุงรักษ�ทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิประเทศที่งดงาม หรือมีคุณค่าในทางธรรมชาติ

                    กฎหมายผังเมืองเป็นกฎหมายมหาชนที่กำาหนดกระบวนการกระทำาทางปกครองของรัฐ เพื่อสุขภาพ

            ความปลอดภัยและสวัสดิภาพสังคมของประชาชน ทั้งนี้ ให้อำานาจองค์กรฝ่ายปกครองดำาเนินการโดย

            ไม่ผ่านศาล และกระจายอำานาจตามพื้นที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการวางและจัดทำาผังเมือง
            กฎหมายกำาหนดให้ต้องมีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ผู้มีส่วนได้เสีย มีกระบวนการยุติธรรมทาง

            ปกครอง ซึ่งประชาชนสามารถอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ และมีบทกำาหนดโทษผู้ซึ่งกระทำาการฝ่าฝืน

            กฎหมายที่บัญญัติไว้ด้วย






                                                           52
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58