Page 111 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 111
ช : ยังไม่พร้อมครับ
ถาม : แล้วพอไปท�า มีคนอื่นไปท�าเยอะมั้ยคะ
ญ : ก็เยอะค่ะ มีเด็กวัยรุ่นนั่งเรียงกันเต็มเลย
ถาม : พอไปเจอมีคนเยอะแยะเลย เราคิดยังไงตอนนั้น
ญ : ก็คิดว่าเค้าคงยังไม่พร้อมที่อยากจะมีลูกอะไรประมาณนี้ค่ะ
ช : เค้าคงคิดเหมือนเรา
นอกจากนั้นข้อมูลจากการสัมภาษณ์ระดับลึกเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมแล้วตัดสินใจ
ยุติการตั้งครรภ์พบว่า ปัจจัยผลักส�าคัญคือ การขาดสิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารและการศึกษา
(Rights to Information and Education) ของคนในสังคมทุกระดับ โดยเฉพาะในเรื่องของการ
เตรียมพร้อมของครอบครัว ซึ่งนอกจากจะไม่น�าไปสู่การรับรู้ร่วมกันแล้วยังมีทัศนคติที่กดทับสภาพ
ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของเยาวชนหญิงให้กลายเป็นประเด็นคอขาดบาดตายในครอบครัวไป
เลย ดังเช่น การให้สัมภาษณ์ของเยาวชนหญิงรายนี้ สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูก
ที่ท�าให้ลูกไม่กล้าบอกพ่อเพราะกลัวค�าขู่ของพ่อ จึงตัดสินใจไปท�าแท้งเมื่อตอนอายุ ๑๓ ปี ตัวอย่าง
การสนทนาของนักวิจัยกับเยาวชนหญิงกับแฟนหนุ่มที่อายุห่างกัน ๓ ปี
ถาม : แล้วช่วงที่เรามีอะไรกับแฟน พ่อแม่เรารู้มั้ย
ญ : ไม่รู้ค่ะ รู้แต่ว่ามีแฟน
ถาม : เพราะอย่างนี้ด้วยหรือเปล่าคะเลยไม่กล้าบอกพ่อแม่
ญ : คือพ่อหนูจะเป็นคนแบบว่าด่าไม่ให้มีแฟน เค้าจะไม่ให้มีแฟน แล้วถ้ารู้ว่าท้องก็โดน
ถาม : มันจะ ๒ เด้งเลย มีแฟนแล้วด้วย ท้องแล้วด้วย
ญ : ค่ะ
ช : ถ้าเค้ารู้ก็คือเรียบร้อยเลย คอขาด
ถาม : คอขาดเลยหรอ น่ากลัวนะ
ญ : พ่อหนูเค้าห่วง
ถาม : แล้วตอนนี้พ่อเค้ารู้รึยังว่าเรามีแฟน
ญ : รู้ค่ะรู้
110 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน