Page 115 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 115
ญ ๑ : อยากมีกลุ่มของประชาชนน่ะค่ะ ผู้ใหญ่ที่ใกล้ๆ บ้านอย่างนี้ค่ะ มาปรึกษาอะไร
อย่างนี้ค่ะ
ถาม : ตอนนี้ยังไม่มีใช่ไหมคะ
ญ ๑ : มีแล้วค่ะ แต่ไม่กล้า
ญ ๒ : หนูเป็นคนไม่กล้า
ถาม : ที่ไม่กล้านี่อายหรือว่ากลัว
ญ ๒ : อาย
ญ ๑ : กลัวเค้ารู้เรื่องครอบครัวของเรา
ช : มีอะไรผมถามเองตลอด ผมจะเป็นคนถาม
ถาม : กลัวเค้าไม่รักษาความลับหรือเปล่าก็เลยไม่กล้าพูด
ญ ๒ : คนเยอะๆ อย่างนี้หนูไม่กล้า ถ้าอย่างนี้หนูกล้า เค้าชอบอยู่กันเป็นกลุ่มน่ะ เหมือน
ป้าหนูน่ะ มาพูด มึงท้องเหรอ หนูโคตรอายเลย
จากการสัมภาษณ์ระดับลึกเยาวชนหญิงและคู่ที่ผ่านประสบการณ์การยุติการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
พบว่า การเข้าถึงสิทธิในการดูแลและป้องกันสุขภาพมักจะเกิดขึ้นภายหลังจากการมีประสบการณ์
แล้ว เนื่องจากไม่อยากให้มีเรื่องการตั้งครรภ์ไม่พร้อมเกิดขึ้นอีก ดังตัวอย่างการสนทนาต่อไปนี้
ญ : ก็กลัว หนูก็บอกเค้าเวลามีอะไรก็ให้ป้องกัน ไม่อยากมีอีกแล้ว
ถาม : คือประสบการณ์ครั้งนั้นท�าให้
ญ : จดจ�าแบบชั่วชีวิตเลย
ถาม : ชั่วชีวิตเลย ก็คือจะไม่ให้พลาดอีกแล้ว
ญ : ค่ะ
ถาม : แล้วตอนนี้เราใช้วิธีคุมก�าเนิดแบบไหนคะ
ช : ใส่ถุงครับ
ถาม : อืมใส่ถุง, แล้วหนูต้องทาน
ญ : หนูไปฉีดยาคุม
ถาม : วิธีการที่หนูเลือกนะคะ อย่างเช่น ใส่ถุงยาง หรือว่าฉีดยาคุม มีคนแนะน�าหรือว่า
เราคิดยังไง
114 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน