Page 4 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 4

บทคัดย่อ






                          โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง.: แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการก าหนดแนวเขตที่ดิน

                   ของรัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดิน และการก าหนดขอบเขต
                   โดยแผนที่แนบท้ายหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการที่ดิน เพื่อศึกษา

                   และเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาการทับซ้อนแนวเขตที่ดินของเขตอนุรักษ์กับที่ดินของรัฐประเภทอื่นๆ
                   ที่รัฐจัดสรรให้กับประชาชน และเพื่อศึกษาและเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการก าหนด

                   แนวเขตที่ดินของรัฐ รวมทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนในการก าหนด
                   แนวเขตที่ดินของรัฐ


                          จากการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินที่ใช้อยู่ในปัจจุบันของหน่วยงานหลัก
                   ในการบริหารจัดการที่ดินโดยตรง และการก าหนดขอบเขตโดยแผนที่แนบท้ายหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ศึกษา

                   ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขของหน่วยงานเหล่านั้น และศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการ
                   ทับซ้อนแนวเขตที่ดินของเขตอนุรักษ์กับที่ดินของรัฐประเภทอื่นๆ ที่รัฐจัดสรรให้กับประชาชน รวมทั้ง

                   ศึกษาปัญหาข้อขัดแย้งในสิทธิการถือครองท าประโยชน์ในพื้นที่กรณีศึกษา สาเหตุของปัญหาและการแก้ไข
                   ปัญหา รวมไปถึงกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยก าหนดพื้นที่กรณีศึกษาตามการร้องเรียน

                   ของประชาชนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้ครอบคลุมลักษณะที่ส าคัญ คือ การก าหนดแนว
                   เขตที่ดินของรัฐทับซ้อนกับพื้นที่ที่อยู่อาศัยและพื้นที่ของชุมชนจ านวนมาก การก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ

                   ทับซ้อนในพื้นที่เดียวกันหลายหน่วยงาน และทับซ้อนพื้นที่ระบบนิเวศและวิถีชีวิตของชุมชนที่หลากหลาย
                   แตกต่างกัน สามารถวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาในการปฏิบัติงานก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐที่ยังมีข้อโต้แย้ง

                   ของประชาชน ส่งผลกระทบกับสิทธิในที่ดินของประชาชนและไม่มีความยั่งยืนด้วยประเด็นที่ส าคัญ คือ
                   การมีส่วนร่วมของประชาชนไม่มีความก้าวหน้าเท่าที่ควร และไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างการมีส่วนร่วม

                   ข้อมูลข่าวสาร และการกระจายอ านาจ ในการพิจารณาออกกฎกระทรวง หรือพระราชกฤษฎีกา ก าหนดให้มี
                   แผนที่แนบท้ายอันถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายมีความล่าช้า เกิดความผิดพลาด และไม่เป็นไปตาม

                   ข้อเท็จจริงในพื้นที่ที่ก าหนดในรูปแผนที่ ในการการจ าแนกที่ดิน และการก าหนดแนวเขตที่ดินเพื่อการ
                   พัฒนาประเทศและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติล้าสมัย และไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริงตามความ

                   เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ตามศักยภาพของพื้นที่ การก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐมีการทับซ้อนกันและ
                   ไม่สามารถตกลงกันได้ในปัญหาการทับซ้อนแนวเขตระหว่างหน่วยงาน และหน่วยงานของรัฐก าหนด

                   แนวเขตโดยประชาชนไม่ทราบข้อมูลในพื้นที่จริง แม้พบข้อผิดพลาดก็ยังไม่ได้มีการแก้ไขหรือแก้ไขล่าช้า
                   ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการด าเนินงาน ท าให้เกิดการโต้แย้งและไม่ยอมรับ

                   ทั้งยังขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ที่มีผลกระทบกับระบบนิเวศ
                   ส่งผลถึงประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่ถูกก าหนดขอบเขตให้เป็นเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ เป็นผู้กระท าผิด

                   ตามกฎหมาย วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป กระทบสิทธิของประชาชน ละเมิดสิทธิมนุษยชน และไม่มีหน่วยงานใด
   1   2   3   4   5   6   7   8   9