Page 167 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 167
อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย การขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
(Convention on the Elimination of all Forms of Racial Discrimination – CERD)
รัฐภาคีแห่งอนุสัญญาฉบับนี้
โดยพิจารณาว่า กฎบัตรสหประชาชาติตั้งอยู่บนหลักการของศักดิ์ศรีและความเสมอภาคของมนุษย์ทั้งมวล และ
โดยพิจารณาว่า รัฐสมาชิกได้ประกาศตนที่จะร่วมกันด าเนินการ โดยร่วมมือกับสหประชาชาติ ให้บรรลุถึงเจตนารมณ์
ประการหนึ่งของสหประชาชาติในอันที่จะส่งเสริมและสนับสนุนความเคารพและนับถือในสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้น
พื้นฐานของมนุษย์ทั้งมวล โดยไม่มีการจ าแนกความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา
โดยพิจารณาว่า ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประกาศว่ามนุษย์ทั้งมวลเกิดขึ้นมาอิสระ
และเสมอภาคในศักดิ์ศรีและสิทธิ และทุกคนมีความชอบธรรมทีจะมีสิทธิและเสรีภาพซึ่งได้ระบุไว้ในปฏิญญาฯ โดยไม่มี
การจ าแนกความแตกต่างใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว และชาติก าเนิด
โดยพิจารณาว่า มนุษย์ทั้งมวลเสมอภาคกันคามกฎหมาย และมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะได้รับการคุ้มครองทาง
กฎหมายจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ และจากการกระตุ้นใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติ
โดยพิจารณาว่า สหประชาชาติได้ประณามลัทธิล่าอาณานิคม และการปฏิบัติใด ๆ อันก่อให้เกิดการแบ่งแยกและ
การเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบหรือในแห่งหนใด และว่าปฏิญญาว่าด้วยการคืนเอกราชให้แก่ประเทศและกลุ่มชนที่
ตกเป็นอาณานิคม ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2503 (ข้อมติสมัชชาสหประชาชาติที่ 1514 (XV)) ได้ยืนยันและประกาศอย่างหนัก
แน่นถึงความจ าเป็นที่จะต้องล้มล้างการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติใด ๆ อย่างรวดเร็ว และโดยไม่มีเงื่อนไข
โดยพิจารณาว่า ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ลงวันที่ 20
พฤศจิกายน 2506 ( ข้อมติสมัชชาสหประชาชาติที่ 1904 ( XVIII ) ) ยืนยันอย่างหนักแน่นถึงความจ าเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะ
ขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติที่มีอยู่ทั่วโลกในทุกรูปแบบและทุกแง่มุม และการสร้างเสริมความเข้าใจและความเคารพใน
ศักดิ์ศรีของมนุษย์
เชื่อมั่นว่า ลัทธิใด ๆ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความคิดที่ว่าคนเชื้อชาติหนึ่งเชื้อชาติใดเหนือกว่าชนเชื้อชาติอื่นเป็น
ความคิดที่ผิดในทางวิทยาศาสตร์ และในทางจริยธรรมของสังคม ทั้งยังเป็นลัทธิที่ยุติธรรมและอันตราย และไม่มีเหตุผลใด
ๆ ที่อาจรองรับการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติได้ ไม่ว่าในทางทฤษฎีหรือในทางปฏิบัติไม่ว่าจะแห่งหนใด
ยืนยันว่า การเลือกปฏิบัติระหว่างมนุษย์บนพื้นฐานของเชื้อชาติ สีผิว และเผ่าพันธุ์ก าเนิดเป็นอุปสรรคประการ
หนึ่งต่อความสัมพันธ์ฉันมิตรและสันติภาพระหว่างชาติ และอาจก่อกวนความสงบสุขและสวัสดิภาพในหมู่ชน และความ
สมานฉันท์ระหว่างผู้ที่อาศัยอยู่เคียงข้างกันแม้แต่ภายในรัฐหนึ่งรัฐเดียวกัน
เชื่อมั่นว่า การคงอยู่ของอุปสรรคขวางกั้นทางเชื้อชาติไม่สอดคล้องอย่างยิ่งกับอุดมการณ์ของสังคมมนุษย์ใด ๆ