Page 51 - สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
P. 51

ตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำางาน

                           ม�ตร� ๑๖  การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับ
                 อุดมศึกษา

                           การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับ
                 อุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นไปตามที่กำาหนดในกฎกระทรวง

                           การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำากว่าปริญญา และระดับปริญญา
                           การแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย

                 ให้เป็นไปตามที่กำาหนดในกฎกระทรวง

                           ม�ตร� ๑๗  ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำานวนเก้าปี  โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด
                 เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก  เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษา

                 ภาคบังคับ  หลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำาหนดในกฎกระทรวง
                           ม�ตร� ๑๘  การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้จัดในสถานศึกษาดังต่อไปนี้

                           (๑)  สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้แก่ ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็ก

                 ก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา  ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเด็กพิการและเด็กซึ่งมีความ
                 ต้องการพิเศษ หรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น

                           (๒)  โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนของรัฐ โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนที่สังกัดสถาบัน
                 พุทธศาสนาหรือศาสนาอื่น

                           (๓)  ศูนย์การเรียน ได้แก่ สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล
                 ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา

                 สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด

                           ม�ตร� ๒๒  การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนา
                 ตนเองได้  และถือว่าผู้เรียนมีความสำาคัญที่สุด  กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถ

                 พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

                           ม�ตร� ๒๓  การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษา
                 ตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำาคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความ
                 เหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่อง ต่อไปนี้

                           (๑)  ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว

                 ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบ
                 การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                           (๒)  ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจ

                 และประสบการณ์เรื่องการจัดการ  การบำารุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ

                 สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ยั่งยืน




            50

            สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56