Page 13 - สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล และสิทธิเด็ก กรณีเห็นว่าการกำหนดแบบทรงผมของนักเรียนกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 13
ต่อมา พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ มีผลใช้บังคับ ซึ่งมาตรา ๓ บัญญัติมีความว่า
ให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๓๒ ลงวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๕ โดยบทเฉพาะกาล
มาตรา ๘๘ บัญญัติมีความว่า บรรดากฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำาสั่งที่ออกโดย
อาศัยอำานาจตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๓๒ ลงวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ให้
คงใช้บังคับต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีการออกกฎกระทรวง ข้อบังคับ
ระเบียบ ประกาศ หรือคำาสั่งตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖
หมวด ๗ การส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา มาตรา ๖๓ บัญญัติว่า “โรงเรียนและ
สถานศึกษาต้องจัดให้มีระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้คำาปรึกษา และฝึกอบรมแก่นักเรียน
นักศึกษา และผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสม ความรับผิดชอบต่อสังคม และความ
ปลอดภัยแก่นักเรียนและนักศึกษา ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำาหนดในกฎกระทรวง”
และมาตรา ๖๔ บัญญัติว่า “นักเรียนและนักศึกษาต้องประพฤติตนตามระเบียบของโรงเรียนหรือ
สถานศึกษา และตามที่กำาหนดในกฎกระทรวง”
ต่อมา กระทรวงศึกษาธิการได้ออกกฎกระทรวงกำาหนดความประพฤติของนักเรียนและ
นักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยอาศัยอำานาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติ
คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำากัดสิทธิและ
เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖
มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำาได้
โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวได้กำาหนดเกี่ยวกับเรื่อง
ความประพฤติที่ไม่เหมาะสมของนักเรียนนักศึกษา และให้โรงเรียนหรือสถานศึกษา กำาหนดระเบียบ
ว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้
โดยแนวปฏิบัติที่ผ่านมา จากการสอบถามไปยังสำานักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไม่มีการกำาหนดระเบียบอื่นนอกจากที่ได้กล่าวมาข้างต้น โดยให้โรงเรียนหรือ
สถานศึกษาแต่ละแห่งจะเป็นผู้กำาหนดระเบียบหรือหลักเกณฑ์ที่นอกเหนือจากที่กฎกระทรวง
กำาหนดไว้ เนื่องจากกฎกระทรวงกำาหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นการ
กำาหนดเกี่ยวกับเรื่องความประพฤติที่ไม่เหมาะสมของนักเรียนนักศึกษา โดยไม่มีการกำาหนดเกี่ยวกับ
เรื่องแบบทรงผมของนักเรียน ดังนั้น กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๑๕) และฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๘)
ซึ่งออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๓๒ ลงวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ซึ่งมี
การกำาหนดในเรื่องแบบของทรงผม กฎกระทรวงทั้ง ๒ ฉบับจึงสามารถนำามาบังคับใช้ได้โดยอนุโลม
และจากการดำาเนินงานที่ผ่านมา สำานักนิติการ สำานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ยังไม่เคยได้รับเรื่อง
ร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องทรงผมของนักเรียน
กระทรวงศึกษาธิการได้ใช้หลักการกระจายอำานาจการบริหารและการจัดการศึกษา โดยให้
สถานศึกษาใช้ดุลพินิจตามความเหมาะสม ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖
มาตรา ๖๔ และกฎกระทรวงกำาหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๒ เพื่อให้
เกิดความยืดหยุ่นและไม่ขัดหรือแย้งตามที่กฎหมายกำาหนด
12
สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล และสิทธิเด็ก กรณีเห็นว่าการกำาหนดแบบทรงผมของนักเรียนกระทบต่อสิทธิมนุษยชน
และไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐