Page 10 - สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล และสิทธิเด็ก กรณีเห็นว่าการกำหนดแบบทรงผมของนักเรียนกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 10
กสม. ๗
รายงานผลการพิจารณา
คำาร้องที่ขอให้เสนอแนะนโยบาย
หรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
คณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ
วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
รายงานผลการพิจารณา ที่ ๔๑๖/๒๕๕๕
เรื่อง สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล และสิทธิเด็ก กรณีเห็นว่าการกำาหนดแบบทรงผมของนักเรียน
กระทบต่อสิทธิมนุษยชนและไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐
ผู้ร้อง ปกปิดชื่อ
ผู้ถูกร้อง โรงเรียนหรือสถานศึกษา
๑. คว�มเป็นม�
ผู้ร้องได้มีหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๔
ตามคำาร้องที่ ๕๙๗/๒๕๕๔ ว่า ผู้ร้องอายุ ๑๕ ปี ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่โรงเรียนในจังหวัดสมุทรสาคร
โดยผู้ร้องเห็นว่า การที่กระทรวงศึกษาธิการกำาหนดแบบทรงผมของนักเรียน คือ นักเรียนชายต้องตัดผม
สั้นเกรียน และนักเรียนหญิงต้องตัดผมสั้นเห็นติ่งหู กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล และเป็น
การละเมิดสิทธิมนุษยชน และเนื่องจากในบางโรงเรียนได้อนุโลมให้นักเรียนที่เรียนนาฏศิลป์สามารถไว้
ผมยาวได้นั้น ผู้ร้องเห็นว่าการอนุโลมดังกล่าวเป็นการเลือกปฏิบัติ ตามนัยมาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ โดยผู้ร้องกล่าวอ้างว่า แบบทรงผมที่กระทรวงศึกษาธิการ
กำาหนดไว้นั้น ทำาให้นักเรียนที่เข้าสู่ช่วงวัยรุ่นขาดความมั่นใจและเสียสมาธิในการเรียน ทั้งนี้ ผู้ร้องได้
อ้างถึงบทความของ ศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ จากหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ซึ่ง
ได้กล่าวถึงทรงผมนักเรียนไว้ สรุปได้ว่า ประเทศไทยรับเอาแบบทรงผมและเครื่องแบบนักเรียนต่างๆ
มาจากประเทศญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ซึ่งในช่วงนั้น เกิดการระบาดของเหา ประชาชนจึงนิยม
ตัดผมสั้นเกรียน และจากงานวิจัยของทีมวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพบว่า จากการสัมภาษณ์
เด็กนักเรียน กฎระเบียบเรื่องทรงผมเป็นสิ่งที่นักเรียนมีความกังวลมากที่สุด เนื่องจากวัยรุ่นอยากมี
บุคลิกที่ดี สวยงาม ดังนั้น เรื่องทรงผมจึงทำาให้เกิดความคับข้องใจมาก และเป็นสาเหตุหนึ่งที่จะนำามา
ซึ่งปัญหาอื่นๆ ต่อไป
9
สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล และสิทธิเด็ก กรณีเห็นว่าการกำาหนดแบบทรงผมของนักเรียนกระทบต่อสิทธิมนุษยชน
และไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐