Page 11 - สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล และสิทธิเด็ก กรณีเห็นว่าการกำหนดแบบทรงผมของนักเรียนกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 11
ประเด็นที่ผู้ร้องประสงค์ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตรวจสอบ คือ ขอให้ตรวจสอบ
การละเมิดสิทธิมนุษยชน
๒. ก�รพิจ�รณ�คำ�ร้องเรียน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิด
สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมพิจารณาดำาเนินการ
ประเด็นการตรวจสอบ
๑. การกำาหนดแบบทรงผมของโรงเรียนหรือสถานศึกษาซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑
(พ.ศ. ๒๕๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๘) เป็นการกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพ
ส่วนบุคคล ตามมาตรา ๒๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และเป็นการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือไม่ อย่างไร
๒. การที่โรงเรียนอนุโลมให้นักเรียนสามารถไว้ผมยาวได้เป็นการเฉพาะรายเป็นการเลือกปฏิบัติ
ตามนัยมาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ หรือไม่ อย่างไร
๓. ก�รดำ�เนินก�รตรวจสอบ
คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
ได้ดำาเนินการพิจารณาตรวจสอบ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และระเบียบ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิ
มนุษยชน พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยคณะอนุกรรมการฯ ได้เชิญผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำานักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๐ และผู้แทนโรงเรียนที่ผู้ร้องศึกษาอยู่เข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจง
ข้อเท็จจริงด้วยวาจาในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ ๕/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
และเอกสารที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ ดังนี้
๓.๑ ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ ดังนี้
เดิมเรื่องเกี่ยวกับการจัดระเบียบทรงผมของนักเรียน กระทรวงศึกษาธิการได้ดำาเนิน
การตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๓๒ ลงวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ต่อมา กระทรวง
ศึกษาธิการอาศัยอำานาจตามความในข้อ ๓ และข้อ ๑๑ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๓๒ ลงวันที่
๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๑๕๑๕) ลงวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๕
ที่ระบุว่า
ข้อ ๑ การแต่งกาย และความประพฤติดังต่อไปนี้ถือว่าไม่เหมาะสมแก่สภาพของนักเรียน
ตามความในข้อ ๔ แห่งประกาศของคณะปฏิบัติ ฉบับที่ ๑๓๒
10
สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล และสิทธิเด็ก กรณีเห็นว่าการกำาหนดแบบทรงผมของนักเรียนกระทบต่อสิทธิมนุษยชน
และไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐