Page 18 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ
P. 18

14


               พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่รับแจ้งเหตุต่างๆ และการให้ความ


               ช่วยเหลือทางกฎหมายโดยส านักงานพัฒนาสังคมระดับจังหวัดมีเจ้าหน้าที่ให้


               ความช่วยเหลือในด้านนี้จังหวัดละ 2 คน  อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่สายด่วนบางคน

               ไม่มีความรู้ความเข้าใจมากพอที่จะให้ค าแนะน าช่วยเหลือและคุ้มครองคนพิการ


               ได้อย่างมีประสิทธิผล

               24. ข้อเสนอแนะ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการควรจัดให้มีระบบ


               การดูแลความปลอดภัยของคนพิการที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น คนพิการที่ถูกทอดทิ้ง


               อยู่ตามล าพัง โดยอาจใช้ระบบอาสาสมัครในการไปเยี่ยมคนพิการในชุมชนเป็น

               ระยะๆ ในท านองเดียวกับอาสาสมัครสาธารณสุขหรืออาจมีความร่วมมือกับ


               กระทรวงสาธารณสุข ในการใช้อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีอยู่แล้วในการให้ข้อมูล


               เกี่ยวกับคนพิการในชุมชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเพื่อมีมาตรการดูแลความปลอดภัยที่

               เหมาะสมต่อไป ส่วนมาตรการให้ความช่วยเหลือ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ


               ควรมีการอบรมเจ้าหน้าที่ที่รับแจ้งเหตุทางสายด่วนให้มีความรู้เพียงพอที่จะให้

               ค าแนะน าแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นแก่ผู้แจ้งเหตุ



               การด ารงชีวิตอย่างอิสระ และการมีมาตรฐานการด ารงชีวิตที่เพียงพอ (ข้อ 19,


               20 และ 28 ของอนุสัญญาฯ)


               25. สังคมไทยยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับการด ารงชีวิตอิสระของคนพิการไม่ถูกต้อง


               นัก การด ารงชีวิต อย่างอิสระไม่ได้หมายถึงการที่คนพิการอยู่ล าพังเพียงคนเดียว


               แต่ความหมายที่แท้จริงคือการที่คนพิการสามารถเลือกด ารงชีวิตในรูปแบบที่ตน

               ต้องการได้ ซึ่งเกี่ยวโยงกับเรื่องศักดิ์ศรีและเสรีภาพในการตัดสินใจ อนุสัญญาว่า


               ด้วยสิทธิของคนพิการข้อ 19 ก าหนดให้คนพิการมีโอกาสเลือกที่จะอาศัยอยู่ใน

               ชุมชน  โดยรัฐควรมีบริการที่สนับสนุนเรื่องการจัดสภาพที่อยู่อาศัย ให้เอื้อต่อการ


               ที่คนพิการจะอาศัยอยู่ในบ้านและเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนได้ ซึ่งมาตรา 20 ของ
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23