Page 176 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 176
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 175
ทุกฝ่ายที่ต้องการวินิจฉัยเรื่องนั้น ๆ อันจะทำาให้ผลคำาวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานเป็นไปด้วยความ
เป็นธรรมอย่างแท้จริง เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา
๓.๓) ผลดำาเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๓.๓.๑) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ในฐานะนายทะเบียนรับจดทะเบียน
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แจ้งผลเป็นหนังสือ ที่ รง ๐๕๐๙/๐๐๕๐๘๓ ลงวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๗
ดังนี้
(๑) การเพิกถอนการจดทะเบียนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับที่
ทำาขึ้นระหว่างบริษัท กับสหภาพแรงงาน ฉบับลงวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๖ ซึ่งเป็นการยื่นข้อเรียกร้อง
และได้ดำาเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำาหนดไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ และ
ทั้งสองฝ่ายสมัครใจทำาข้อตกลงดังกล่าวโดยมิได้ข่มขู่และบังคับแต่อย่างใด เมื่อมีข้อตกลงแล้วบริษัทฯ
มีหน้าที่นำาข้อตกลงดังกล่าวมาจดทะเบียน ตามมาตรา ๑๘ แห่ง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์
พ.ศ. ๒๕๑๘ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในฐานะนายทะเบียนได้พิจารณาแล้ว เห็นเป็นข้อตกลง
ที่เป็นไปตามข้อตกลงตามกฎหมายกำาหนด จึงรับจดทะเบียน แต่อย่างไรก็ตาม หากผู้มีส่วนได้เสีย
ในข้อตกลงดังกล่าวเห็นว่าเนื้อหาในส่วนของข้อตกลงเป็นการกระทำามิชอบด้วยกฎหมาย สามารถฟ้องคดี
ต่อศาลแรงงาน เพื่อให้ศาลมีคำาวินิจฉัยยกเลิกข้อตกลงดังกล่าว
ทั้งนี้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้มีหนังสือถึงบริษัทฯ เพื่อขอให้มี
การทบทวนยกเลิกจดทะเบียนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว ตามมาตรการที่ กสม. เสนอมาแล้ว
อนึ่ง หากนายทะเบียนพิจารณาเพิกถอนการจดทะเบียนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ได้ดำาเนินการ
ตามขั้นตอนของกฎหมาย ที่กำาหนดไว้ผู้มีส่วนได้เสียอาจฟ้องร้องหรือดำาเนินคดีอาญาในฐานความผิด
เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา ๑๕๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา
(๒) กรณีกำากับดูแลในการกำาหนดประเด็นวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน
เพื่อพิจารณารายละเอียดของข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านนั้น คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นองค์กร
ที่เกิดขึ้นจากพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งมีความเป็นอิสระในการทำางานปราศจาก
การแทรกแซงจากองค์กรอื่น โดยคณะกรรมการดังกล่าวเป็นองค์กรระบบไตรภาคีมีกรรมการ จำานวน
๑๕ คน ประกอบด้วย ส่วนราชการที่มาจากการแต่งตั้ง จำานวน ๕ คน ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง จำานวน ๕ คน
ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง จำานวน ๕ คน ซึ่งในส่วนลูกจ้างและนายจ้างต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น
แต่อย่างไรก็ตาม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะได้นำาเสนอมาตรการการแก้ไขและความห่วงใย
ของ กสม. ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณารายละเอียดข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านต่อไป
๓.๓.๒) สหภาพแรงงาน แจ้งเป็นหนังสือ ที่ สรออพม ๑๔๐/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๙
ตุลาคม ๒๕๕๗ ว่า ได้นำาผลรายงานการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ประกอบในการฟ้องคดีแรงงาน
เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ขณะนี้ ศาลแรงงานกลาง (นนทบุรี) ได้นัดไกล่เกลี่ยครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒
กันยายน ๒๕๕๗ และนัดครั้งต่อไปในวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗