Page 6 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 6

รายงานการศึกษาวิจัย  I
                                        เรื่อง ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว


                                                           คํานํา




                      ปจจุบันสังคมไทยมีความตื่นตัวเรื่อง “สิทธิมนุษยชน” เปนอยางมาก โดยสิทธิประการหนึ่งที่คนในสังคม
               ใหความสําคัญและเปนสิทธิที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิตประจําวันของมนุษยทุกคน คือ สิทธิในความเปนอยูสวนตัว อันเปน

               สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานประการหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะไดรับการรับรองและคุมครองไวตามรัฐธรรมนูญ
               แหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 35 แลว ยังไดรับการรับรองในสนธิสัญญาระหวางประเทศ

               ที่ประเทศไทยเขารวมเปนภาคีอีกดวย อยางไรก็ตาม ยังปรากฏวา มีบุคคลจํานวนมากไดรับผลกระทบจาก
               การกระทําอันเปนการละเมิดตอสิทธิในความเปนอยูสวนตัวอยางกวางขวาง ไมวาจะเกิดจากการกระทํา

               ของเจาหนาที่ของรัฐและ/หรือเอกชน เชน การเก็บขอมูลสวนบุคคลเพื่อประโยชนในการบริหารงานของรัฐ
               การติดตั้งกลองโทรทัศนวงจรปดในสถานที่ตาง ๆ การนําเสนอขาวของสื่อมวลชน เปนตน นอกจากนี้ การจํากัด

               ขอบเขตของสิทธิในความเปนอยูสวนตัว รวมถึงขอยกเวนสําหรับการกระทําที่อาจกระทบตอสิทธิในความเปนอยู
               สวนตัวในกรณีที่การกระทํานั้นเปนไปเพื่อประโยชนตอสาธารณะก็เปนปญหาที่ยังมีการโตแยงกันอยู อีกทั้ง

               ยังไมมีแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปฏิบัติหนาที่ของหนวยงาน/องคกรตาง ๆ ในการคุมครองสิทธิดังกลาว
               ตามอํานาจหนาที่ที่หนวยงาน/องคกรนั้นมีอยู

                          ดวยเหตุดังกลาว สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติจึงไดดําเนินการศึกษาวิจัยเรื่อง
               “ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว” โดยมีสถาบันวิจัย

               และใหคําปรึกษาแหงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร เปนที่ปรึกษา ทั้งนี้ มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาแนวคิด หลักการ
               พัฒนาการ มาตรฐานสากลเกี่ยวกับสิทธิความเปนอยูสวนตัว บทบัญญัติของกฎหมายระหวางประเทศ กฎหมาย

               ของประเทศไทยและของตางประเทศที่เกี่ยวกับการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว ขอบเขต
               ของสิทธิในความเปนอยูสวนตัวตามที่กฎหมายใหการรับรอง ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการคุมครองสิทธิ

               ดังกลาว ตลอดจนวิเคราะหการกระทําตาง ๆ จากทั้งหนวยงานและเจาหนาที่ทั้งในภาครัฐและเอกชนที่อาจ
               สงผลกระทบตอสิทธิในความเปนอยูสวนตัวของบุคคลผานคดีและเรื่องรองเรียนตาง ๆ ที่เกี่ยวของ รวมทั้ง

               เสนอแนะแนวทางและมาตรการในการคุมครองสิทธิดังกลาวใหสอดคลองกับเจตนารมณของรัฐธรรมนูญ
               แหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งผลที่ไดจากการศึกษาวิจัย คณะผูวิจัยไดจัดทําสรุปเกี่ยวกับ

               สิทธิในความเปนอยูสวนตัว การรับรองและคุมครองสิทธิดังกลาว และใหขอเสนอแนะที่เกี่ยวของกับการปฏิบัติ
               หนาที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติในการตรวจสอบการกระทําอันเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชน

               เพื่อใหความคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัวของบุคคลเปนสําคัญอีกดวย
                          สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ หวังเปนอยางยิ่งวา รายงานการศึกษาวิจัยฉบับนี้

               จะเปนประโยชนสําหรับผูที่สนใจ ทั้งเจาหนาที่ของรัฐและเอกชน เพื่อจะไดเขาใจถึงขอบเขตของสิทธิ
               ในความเปนอยูสวนตัว และการปองกันไมใหมีการดําเนินการหรือการกระทําใด ๆ ที่จะกอใหเกิดผลกระทบ

               ตอสิทธิในความเปนอยูสวนตัวของบุคคลโดยไมสมเหตุสมผลได อีกทั้งขอเสนอแนะจากการศึกษาวิจัยจะมีสวน
               ในการนํามาใชประโยชนตอการปฏิบัติหนาที่ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการ

               สิทธิมนุษยชนแหงชาติ เพื่อใหการดําเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนเปนไปตามมาตรฐานสากล
               เปนธรรม และสอดคลองกับหลักสิทธิมนุษยชนในทุกมิติ



                                                                     สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11