Page 10 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 10
รายงานการศึกษาวิจัย V
เรื่อง ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว
อันเปนหลักประกันสิทธิของบุคคลที่อาจไดรับผลกระทบจากการดําเนินมาตรการหรือการกระทําการขององคกร
ของรัฐ เพื่อปองกันมิใหการดําเนินมาตรการหรือการกระทําการอยางใด ๆ ขององคกรของรัฐเปนไปตามอําเภอใจ
หรือไมสมเหตุสมผล ทั้งนี้ ตามแนวทางที่กําหนดไวในขอ 8 วรรคสอง ของอนุสัญญาแหงยุโรปวาดวยการคุมครอง
สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน กลาวคือ
1.2.1 การดําเนินมาตรการนั้นมีกฎหมายหรือกฎเกณฑบัญญัติใหกระทําได โดยยึดหลักการ
เขาถึงขอมูลเกี่ยวกับกฎหมายหรือกฎระเบียบนั้นๆ ของบุคคลที่เกี่ยวของ และหลักการคาดหมายลวงหนาได
ของบุคคลนั้น ๆ เกี่ยวกับผลของการใชบังคับกฎหมายหรือกฎระเบียบนั้นที่เกี่ยวของกับตน อันเปนหลักประกัน
สิทธิของบุคคล
1.2.2 การดําเนินมาตรการนั้นจะตองเปนไปเพื่อวัตถุประสงคอันเกี่ยวกับประโยชนสาธารณะ
เปนสําคัญ โดยเฉพาะอยางยิ่งเพื่อความมั่นคงแหงรัฐ ความสงบเรียบรอยและความปลอดภัยของประชาชน
หรือการปองกันการกระทําความผิดอาญา
1.2.3 การดําเนินมาตรการนั้นจะตองเปนสิ่งจําเปนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค อันเปนประโยชน
สาธารณะ และไดสัดสวนกับวัตถุประสงคดังกลาว โดยยึด “หลักความไดสัดสวน” ระหวางการดําเนินมาตรการนั้น
กับผลกระทบที่เกิดขึ้นตอการแทรกแซงหรือการรุกลํ้าสิทธิในความเปนอยูสวนตัวของบุคคล (การชั่งนํ้าหนัก
ระหวางประโยชนสาธารณะกับประโยชนของบุคคลผูไดรับผลกระทบ)
2. การตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติเกี่ยวกับการกระทําอันเปนการแทรกแซง
หรือรุกลํ้าสิทธิในความเปนอยูสวนตัวของบุคคล
โดยที่สิทธิในความเปนอยูสวนตัวเปนสิทธิเสรีภาพตามธรรมชาติของมนุษยและเปนสิทธิที่เกี่ยวดวย
ศักดิ์ศรีแหงความเปนมนุษย สิทธิในความเปนอยูสวนตัวจึงตกอยูในขอบเขตแหงนิยามของคําวา “สิทธิมนุษยชน”
ตามมาตรา 3 แหงพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ พ.ศ. 2542 ดังนั้น ในการปฏิบัติหนาที่
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ คณะกรรมการอาจจําเปนตองตรวจสอบวา การกระทําอยางหนึ่ง
อยางใดเปนการแทรกแซงหรือรุกลํ้าสิทธิในความเปนอยูสวนตัวโดยมิชอบดวยกฎหมาย อันเปนการละเมิด
สิทธิมนุษยชนหรือไมดวย
ดังนั้น เพื่อใหการตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติเกี่ยวกับการกระทําอันเปนการ
แทรกแซงหรือรุกลํ้าสิทธิในความเปนอยูสวนตัวของบุคคลเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ และสอดคลองกับหลักสากล
ในเรื่องนี้ คณะผูวิจัยจึงมีความเห็นและขอเสนอแนะ ดังนี้
2.1 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติจะตองมีความรูความเขาใจในเชิงเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิ
ในความเปนอยูสวนตัวตามหลักสากล ตลอดจนขอบเขตหรือประเภทตาง ๆ ของสิทธิในความเปนอยูสวนตัว
และคุณคาหรือสถานะทางกฎหมายของสิทธิในความเปนอยูสวนตัว เพื่อประโยชนในการพิจารณาและ
การตรวจสอบการกระทําอันเปนการแทรกแซงหรือรุกลํ้าสิทธิในความเปนอยูสวนตัว
2.2 เพื่อใหการปฏิบัติหนาที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติและคณะอนุกรรมการ
ชุดตาง ๆ ในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิความเปนสวนตัวมีมาตรฐานและเปนไปในแนวทางเดียวกัน คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแหงชาติจึงควรกําหนดหลักเกณฑเกี่ยวกับการพิจารณาและการตรวจสอบการกระทําอันเปน
การแทรกแซงหรือรุกลํ้าสิทธิในความเปนอยูสวนตัวเปนการเฉพาะ โดยกําหนดหลักเกณฑเกี่ยวกับเรื่องดังตอไปนี้