Page 63 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 63
คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 61
นอกเหนือจากกลไกคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และ
คณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก ยังมีสนธิสัญญาที่
เกี่ยวข้องแต่ยังไม่ถือว่าอยู่ในระดับเดียวกับ ๒ กลไกข้างต้น คือ ปฏิญญาสมาคมประชาชาติเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการคุ้มครองและการส่งเสริมสิทธิของแรงงานข้ามชาติ (ACMW) ที่ทำางานเพื่อ
เสนอแนวทางในคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงาน
๑. ๑. คณะกรรม�ธิก�รระหว่�งรัฐบ�ลอ�เซียนว่�ด้วยสิทธิมนุษยชน
คณะกรรม�ธิก�รระหว่�งรัฐบ�ลอ�เซียนว่�ด้วยสิทธิมนุษยชน
(ASEAN Inter-Governmental Commission on Human Rights -AICHR)
(ASEAN Inter-Governmental Commission on Human Rights -AICHR)
AICHR เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้น เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ มีลักษณะเป็นองค์กรปรึกษา
หารือระหว่างรัฐบาล และดำาเนินการก่อตั้งสถาบันที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน
ในอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ๒๐
v เพื่อส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนอาเซียน
v เพื่อรักษาสิทธิของประชาชนอาเซียนที่จะอยู่อย่างสันติ มีศักดิ์ศรี และเจริญรุ่งเรือง
v เพื่ออุทิศที่จะตระหนักถึงจุดประสงค์ของอาเซียนที่บัญญัติไว้ในกฎบัตรอาเซียน เพื่อที่จะ
สนับสนุนความมั่นคง และความกลมกลืนในภูมิภาค ความเป็นมิตร และความร่วมมือ
ระหว่างประเทศอาเซียน ตลอดจนความปลอดภัย การทำามาหากิจ สวัสดิการและการมี
ส่วนร่วมของประชาชนอาเซียนในกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน
v เพื่อสนับสนุนสิทธิมนุษยชนในบริบทของภูมิภาค รับรู้ถึงลักษณะเฉพาะทั้งระดับประเทศ
และระดับภูมิภาค ตลอดจนเคารพในพื้นฐานทางศาสนา ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม
ที่แตกต่างกัน และตระหนักถึงความสมดุลระหว่างสิทธิและความรับผิดชอบ
v เพื่อขยายความร่วมมือระดับภูมิภาคในลักษณะชื่นชมความพยายามระดับชาติและระดับ
นานาชาติในการสนับสนุนและปกป้องสิทธิมนุษยชน
v ยืนยันในมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระดับนานาชาติตามที่บัญญัติในปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน ปฏิญญาและแผนปฏิบัติการเวียนนา และส่วนสิทธิมนุษยชนระดับนานา
ชาติอื่นๆ ที่อาเซียนมีส่วนร่วม
๒๐ Section 1, Terms of Reference, ASEAN Inter-governmental Commission on Human Rights