Page 9 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 9
ที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาการสู้รบพื้นที่ใกล้ชายแดน และผู้หลบหนีเข้าเมือง ควรมีการบูรณาการความ
ร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เป็นเอกภาพมากขึ้น
วิธีคิดของสังคมไทยในอดีตที่พาชาติผ่านพ้นวิกฤติต่างๆ มาได้ด้วยการมีจุดยืน มีทิศทาง มี
ยุทธศาสตร์ที่มาจากภูมิปัญญาและความชาญฉลาดในการใช้พลังอำานาจทางวัฒนธรรมที่มีความเมตตา
เห็นอกเห็นใจผู้ยากไร้ที่หลบหนีภัยสงครามจากความขัดแย้งในประเทศเพื่อนบ้าน ให้อาศัยอยู่ใน
ประเทศไทยชั่วคราว การปฏิบัติตามกรอบกติกาและพันธกรณีที่มีต่อสหประชาชาติอย่างแข็งขัน
โดยเฉพาะบทบาทที่ต่อเนื่องในการส่งเสริมสนับสนุนการรักษาสันติภาพ การจัดการความขัดแย้งระหว่าง
ประเทศด้วยสันติวิธี นับเป็นจุดแข็งที่ทำาให้นานาประเทศยอมรับในเกียรติและศักดิ์ศรีของประเทศไทย
และมีความเชื่อมั่นในการดำารงสัมพันธไมตรีที่ใกล้ชิดและต่อเนื่องเรื่อยมา แนวคิดเรื่องความมั่นคง
ของชาติจึงควรเปลี่ยนไป โดยควรสร้างความตระหนักของสังคมให้รับรู้สภาวะความเปลี่ยนแปลงของ
สถานการณ์ความมั่นคงที่เปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม ควรใช้จุดแข็งของความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่าง
ประเทศเพื่อสนับสนุนการดำาเนินความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ
ทิศทางการปรับตัวของประเทศในมิติด้านความมั่นคง จึงต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยมุ่งเน้น
ให้เกิดการคุ้มครองและปกป้องความมั่นคงของประชาชนภายในรัฐ สร้างความแข็งแกร่งของโครงสร้าง
ของสังคมไทยให้มีภูมิคุ้มกันที่มั่นคงต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ความมั่นคงที่เคลื่อนไหว
ไม่หยุดนิ่งและแปรเปลี่ยนได้ตลอดเวลา โดยให้ความสำาคัญกับการรวมพลังปัญญาของสังคม เพื่อให้
ประเทศชาติผ่านพ้นวิกฤติความสามัคคีของคนในชาติ การเสริมสร้างขีดความสามารถในการทำางาน
ร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ ภายในชาติ การรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน
การปรับแนวคิดด้านความมั่นคงที่สำาคัญ คือ การปรับกระบวนทัศน์ของเจ้าหน้าที่รัฐให้ตระหนัก
ถึงการคุ้มครองรักษาความมั่นคงของประชาชนเป็นปัจจัยสำาคัญในการรักษาความมั่นคง ลบล้างแนวคิด
เดิมที่เชื่อว่า ความมั่นคงของประเทศ คือ การสร้างแสนยานุภาพให้กับกองทัพ
ในประเด็นการหนีภัยสู้รบ จึงควรมีการปรับปรุง พัฒนานโยบาย และแผนรองรับ ให้สอดรับกับ
แนวคิดด้านความมั่นคงที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งให้มีแผนปฏิบัติการ มาตรการ ในการเตรียมพร้อม
ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยการเสริมสร้าง บูรณาการ และพัฒนาประสิทธิภาพของระบบการบริหาร
จัดการข้อมูล การบริหารจัดการระบบการสื่อสารและโทรคมนาคมที่มีเอกภาพ รวมทั้งให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคประชาชนมีส่วนร่วม เสริมสร้างความรู้ ความ
เข้าใจและทักษะของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ภาคประชาชน และองค์กรเครือข่ายต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่
ชายแดน ให้มีระบบการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และทันเหตุการณ์ พัฒนาเครือข่ายความ
ร่วมมือกับนานาประเทศ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ แสวงหาและเพิ่มระดับความร่วมมือ
ด้านการข่าว การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การจัดตั้งช่องทางติดต่อสื่อสารระหว่างกัน รวมทั้งส่งเสริม
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒