Page 6 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 6
และเทคโนโลยีในการเข้าครอบครองแปรเปลี่ยนทรัพยากรให้กลายเป็นสินค้า และตีค่าออกมาเป็นตัวเงิน
อำานาจรัฐอ่อนแอเกินกว่าจะรักษาอำานาจอธิปไตยทางเศรษฐกิจ เพราะลัทธิเสรีนิยมใหม่มาพร้อมกับระบบ
ประชาธิปไตย หลักสิทธิมนุษยชน การพัฒนาทางเศรษฐกิจระบบทุนและความเจริญก้าวหน้า ที่ประเทศ
ต่างๆ ในภูมิภาคแห่งนี้ ไม่ว่ารัฐประชาธิปไตยหรือสังคมนิยมก็ตาม ล้วนเปิดประเทศยอมรับ กระบวนการ
ดังกล่าวจึงบั่นทอนสิทธิอำานาจรัฐในทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งหรือการเผชิญหน้าระหว่างระบบเศรษฐกิจ
ที่เป็นไปเพื่อวิถีชีวิตของพลเมืองและชุมชนอาเซียน กับเศรษฐกิจที่เป็นไปเพื่อตลาดโลกระบบนายทุน
ข้ามชาติและทุนชาติที่ผนวกรวมกับอำานาจรัฐ อำานาจการเมือง จึงเกิดขึ้น การต่อต้านและขัดขืนต่อ
ความไม่เป็นธรรมดังกล่าวของภาคพลเมืองและชุมชน จึงนำามาสู่การเรียกร้องด้านสิทธิชุมชน สิทธิการ
พัฒนา
ประการที่สอง แนวคิดเรื่องเขตแดน ความมั่นคงแห่งรัฐแบบมีเขตแดน กำาลังถูกท้าทายด้วย
จิตสำานึกความเป็นพลเมือง สิทธิในทางการเมือง สิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ปัญหาแรงงาน
ข้ามชาติ การเคลื่อนย้ายของประชากรในลักษณะผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย เพื่อสิทธิในการมี
ชีวิตอยู่ สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ท้าทายรัฐไทยและรัฐในภูมิภาคที่ยังยึดมั่นในเขตแดนภายใต้สภาวะ
โลกที่ไร้พรมแดน พื้นที่และชายแดนภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคใต้ชาวไทยที่ยังมีมิติทางประวัติศาสตร์
ชาติพันธุ์ ความหลากหลายทางเชื้อชาติวัฒนธรรม รัฐและคนในรัฐต่อเขตแดนกัน จึงจะคำานึงถึงเพียง
แค่เส้นแดน พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ลักษณะทางกายภาพโดยไม่สนใจบริบทของคน ชุมชน การเคลื่อนย้าย
ของประชากรที่อพยพจากภัยสงครามแย่งชิงอำานาจรัฐ ภายใต้อิทธิพลของลัทธิชาตินิยมหลังล่าอาณานิคม
ที่ยังครอบงำาภัยทางเศรษฐกิจ หรือภัยจากการใช้อำานาจรัฐที่ไม่เป็นธรรม ในทำานอง “หนีร้อนมาพึ่งเย็น”
ไม่ได้ ดังนั้น ความเป็นประชาคมอาเซียนจึงต้องคำานึงถึงมิติสังคม วัฒนธรรม ความเป็นพหุเชื้อชาติ
พหุวัฒนธรรม และความมั่นคงของคนชุมชนมากกว่าความมั่นคงของรัฐในระบบธุรกิจการเมือง (รวมศูนย์
และผูกขาด)
งานวิชาการทั้ง ๒ ฉบับ จึงมีคุณค่าต่อรัฐและสังคมไทยที่ยังคง ถูกครอบงำาและแทรกแซงด้วย
มายาคติ ๒ ประการเบื้องต้นดังกล่าว จึงมีความจำาเป็นต้องทบทวนถึงแนวคิดนโยบายและกฎหมายที่
เกี่ยวข้องกับการดำาเนินความสัมพันธ์ระหว่างกันของประเทศภูมิภาคอาเซียน เปลี่ยนแรงขับทางเศรษฐกิจ
และการเมืองสู่มิติทางสังคมวัฒนธรรม ภูมิปัญญาอาเซียน สร้างอัตลักษณ์ด้านสิทธิมนุษยชน สร้างนโยบาย
รูปแบบของกระบวนการตัดสินใจร่วมกับในระหว่างประเทศต่อการดูแลรักษาผลประโยชน์ประชาชน
อาเซียน ในการจัดการแรงงานข้ามชาติ ผู้อพยพ ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย การค้ามนุษย์ การพัฒนาที่มั่นคงและ
ยั่งยืนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของรัฐ – ภูมิภาค – โลก บนจุดยืน ผลประโยชน์ ความเข้าใจ
ความคิดร่วมกับของประชากรอาเซียน การคิดค้นและสร้างสรรค์ปรับเปลี่ยนการเรียนรู้และพัฒนาก้าวหน้า
ให้เท่าทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง โดยไม่เสพติดกับวัฒนธรรมการเรียนรู้เก่าๆ ล้าสมัยที่ตั้งตน
เป็นอริกับอนาคตความมั่นคงและดำารงอยู่ทางสังคม งานวิชาการทั้ง ๒ ฉบับของคณะอนุกรรมการด้าน
สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เพื่อการสร้าง “สังคมวัฒนธรรมการเรียนรู้” คงพอจะเป็นจุดเริ่มต้น
ของการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาสู่ทิศทางที่ดีขึ้นของสังคมไทยไม่มากก็น้อย
น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
ประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒