Page 8 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 8

และนำาไปเป็นกรอบแนวทางในการจัดทำาแผนงานและโครงการในขอบเขตภารกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้
                  สามารถสนองผลประโยชน์แห่งชาติในทิศทางที่สอดคล้องกันและเป็นเอกภาพ

                        ในอดีต ปัญหาความมั่นคงของชาติมีความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยภายนอกประเทศกับปัจจัยภายใน
                  ประเทศ ภัยคุกคามในรูปแบบเดิม โดยเฉพาะจากการคุกคามของกำาลังทหารขนาดใหญ่มีแนวโน้มลดลง
                  แต่การอยู่ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีระดับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองต่างจากไทย

                  ทำาให้เกิดปัญหาความหวาดระแวงระหว่างกัน เป็นผลให้ระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านผันผวนใน
                  บางห้วงเวลา และยังฉุดรั้งความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาความมั่นคงตามแนวชายแดน

                        ปัจจุบัน ความตึงเครียดของความขัดแย้งในภูมิภาคได้คลี่คลายลงเป็นลำาดับ อันเนื่องมาจากความ
                  ร่วมมือในระดับภูมิภาคในการเป็นประชาคมอาเซียน นำาไปสู่บรรยากาศการสร้างความเข้าใจและพัฒนา
                  ยกระดับความสัมพันธ์อันจะนำาไปสู่ความร่วมมือที่ใกล้ชิดต่อกัน  โดยให้ความสำาคัญกับการสร้างเสริมความ

                  สัมพันธ์ทางการทูตในเชิงป้องกันมากขึ้น  แม้จะมีความขัดแย้งอยู่บ้างแต่เป็นเพียงปรากฏการณ์ปกติที่
                                  ่
                  ส่งผลกระทบระดับตำาและค่อนข้างจำากัดเฉพาะพื้นที่
                        สำาหรับพื้นที่ชายแดนซึ่งเคยเป็นพื้นที่ปิดนั้น ได้เปลี่ยนสภาพไปสู่พื้นที่เปิดกว้างเพื่อการติดต่อ
                  คมนาคม การค้า และการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น  เกิดสภาวะแวดล้อมที่เกื้อหนุนให้การพัฒนาสามารถดำาเนิน
                  ไปได้อย่างต่อเนื่อง  ในทศวรรษที่ผ่านมา สถานการณ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านได้พัฒนาสู่ทิศทาง

                  การมีความร่วมมือที่ดีต่อกัน เพราะต่างเห็นความสำาคัญของความร่วมมือเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาที่
                  แตกต่างกัน และต้องการเพิ่มอำานาจการแข่งขันไปด้วยกัน จึงได้มีความพยายามที่จะสร้างกรอบความ
                  ร่วมมือในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านและในภูมิภาค ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี มียุทธศาสตร์ในการสร้าง

                  ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านให้เกิดความเข้าใจและไว้วางใจด้วยการใช้ปัญหาที่เผชิญร่วมกันเป็นตัวตั้ง
                  และช่วยเหลือกันในการร่วมกันหาวิธีแก้ปัญหา  มีการเรียนรู้พึ่งพากันโดยใช้มิติทางวัฒนธรรมเป็นปัจจัย
                  ยึดโยงเพื่อทำาให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อกัน  มีโครงการความร่วมมือด้านความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจ

                  และสังคม เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้รับการสนับสนุนทั้งในระดับรัฐบาลและประชาชนทางด้านการ
                  ท่องเที่ยวและการคมนาคม  โดยการพัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านและในภูมิภาค

                  เพื่อใช้เป็นเส้นทางติดต่อแลกเปลี่ยนด้านสินค้าและบริการ และการเดินทางข้ามแดนที่มีการผ่อนคลาย
                  ให้มีความสะดวกมากขึ้น
                        ในการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน  ประเทศไทยต้องปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ที่

                  เปลี่ยนไป โดยเฉพาะจุดอ่อนของระบบการเฝ้าตรวจชายแดน  การสู้รบพื้นที่ใกล้ชายแดน และผู้หลบหนี
                  เข้าเมือง  เจ้าหน้าที่รัฐและสังคมไทยโดยรวมยังขาดความตระหนักถึงความสำาคัญของการเรียนรู้เข้าใจ

                  ประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งในมิติด้านภาษา วัฒนธรรม และวิถีชีวิต  จึงจะทำาให้ได้รับประโยชน์จากการขยาย
                  ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน  ประเทศไทยจึงควรมีนโยบาย แนวทาง และมาตรการในการปฏิบัติ







        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13