Page 7 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 7

ถึงแม้ว่าการหนีภัยการสู้รบของประชาชนชาวพม่าที่ข้ามพรมแดนไทย
                                          เข้ามาทางอำาเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปลายปี ๒๕๕๓ ได้ผ่านมา

                                          หลายปีแล้วก็ตาม  แต่เหตุการณ์ในครั้งนั้น ได้ให้บทเรียนอย่างมหาศาลต่อ
                                          ประเทศไทยในการจัดการกับผู้หนีภัยการสู้รบอย่างถูกต้อง โดยควรคำานึงถึง
                                          หลักมนุษยธรรมในระดับสากล คือ การไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย (non-

                                          refoulement) ซึ่งเป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในนานา
                                          อารยประเทศ

                                               ภาพการอพยพของผู้หนีภัยการสู้รบที่ อำาเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่มี
                                          ผู้ลี้ภัยประมาณ ๒๕,๐๐๐ คน และที่อำาเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
                                          ประมาณ ๓,๐๐๐ คน กับปฏิบัติการของทหารฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ที่

                                          พยายามผลักดันผู้หนีภัยสงครามกลับสู่ภูมิลำาเนาของตน ทั้งๆ ที่ยังคงมีการ
                                          สู้รบระหว่างทหารพม่ากับกองกำาลังของชนกลุ่มน้อย ทำาให้ผู้หนีภัยสงคราม

                                          ต้องเดินทางกลับเข้ามายังฝั่งประเทศไทย ๓ - ๔ รอบนั้น เกิดจากนโยบายของ
                                          สภาความมั่นคงแห่งชาติ และกระทรวงมหาดไทย ซึ่งใช้พระราชบัญญัติคน
                                          เข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นหลักว่า ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบเป็นผู้เข้าเมืองโดย

                                          ผิดกฎหมาย  และไม่ใช่บุคคลที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในประเทศ
                                          เป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒

                                          การรีบผลักดันผู้หนีภัยการสู้รบในครั้งนั้น ถูกประชาคมนานาชาติตั้งคำาถาม
                                          กับประเทศไทยว่า ได้คำานึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนหรือไม่ เพียงใด
                                                บทเรียนจากปฏิบัติการของฝ่ายความมั่นคงในครั้งนั้น ประเทศไทยควร

                                          ทบทวนนโยบายด้านความมั่นคงที่อยู่ภายใต้แนวคิดเดิมในยุคสงครามเย็นที่
                                          ล้าสมัยแล้ว โดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้  หลักการที่ถูกต้องของนโยบายความ
                                          มั่นคงแห่งชาติ ในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งเป็นยุคโลกาภิวัตน์  กระแสประชาธิปไตย

                                          การค้าเสรี ที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต้องพึ่งพาอาศัยกัน ควรเป็นนโยบายที่มุ่ง
                                          สู่การสร้างสภาวะแวดล้อมที่สันติสุข เพื่อให้เกิดความมั่นคงที่ยั่งยืน และให้
                                          การพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ สามารถดำาเนินไปอย่างราบรื่นโดยภาครัฐ

                                          ภาคประชาชน และภาคส่วนต่างๆ ในสังคม มีส่วนร่วมในการกำาหนดนโยบาย






                                                                                                              


                                      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12