Page 5 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 5
งานศึกษาวิจัยเรื่อง “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณี
ผู้อพยพจากภัยสงคราม” โดย จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร และคณะ กับกรณีรายงาน
ข้อเสนอเชิงนโยบาย “กรณีข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง
พ.ศ. ๒๕๒๒” ของคณะทำางานเชิงยุทธศาสตร์ เป็นผลงานในคณะอนุกรรมการด้าน
สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อันเนื่อง
มาจากผลการตรวจสอบกรณีร้องเรียนหลายกรณี เช่น กรณีร้องเรียนผู้อพยพ
จากกรณีสงครามระหว่างรัฐบาลพม่ากับกองกำาลังทหารกะเหรี่ยง ปลายปี ๒๕๕๓
กรณีชาวโรฮิงญาถูกกักขังไว้ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองระนอง ภูเก็ต สงขลา และ
สวนพลู ปลายปี ๒๕๕๒ กรณีชาวโซมาเลียถูกกักกันที่ห้องกักผู้โดยสารต้องห้าม
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กรณีปากีสถานนิกายอะห์มาดียะและชาวเวียดนาม
ถูกกัน ณ สถานกักกันคนต่างด้าว สวนพลู เป็นต้น คณะอนุกรรมการได้ดำาเนินการ
ตรวจสอบและประสานงานหน่วยงานของรัฐ ในการคุ้มครองสิทธิและให้ความ
ช่วยเหลือผู้อพยพ ผู้ลี้ภัยในกรณีดังกล่าว ตามอำานาจหน้าที่ในรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ (๑) และ (๗) ตามลำาดับ
แต่เนื่องจากสาเหตุของการละเมิดสิทธิเป็นปัญหาในเชิงระบบโครงสร้าง ดังนั้น
คณะอนุกรรมการฯ จึงจำาเป็นต้องคำานึงถึงการแก้ไขปรับปรุงนโยบายของรัฐและ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องตามภาระหน้าที่ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๕๗ (๕) ดังนั้น จึงเป็น
ที่มาของงานเชิงวิชาการ ๒ ฉบับ ดังกล่าวข้างต้น
สาระสำาคัญของงานวิชาการทั้ง ๒ ฉบับ ทำาให้เราตระหนักชัดถึงสัจธรรมใน
กระแสโลกาภิวัตน์ ว่าสังคมไทยกำาหนดเขตแดนมาร้อยกว่าปีแต่ปัจจุบันเราอยู่ในโลก
ที่ไร้พรมแดน การเคลื่อนย้ายของประชากรระหว่างประเทศเพื่อนบ้านกับประเทศไทย
การไหลเวียนของระบบทุนเสรีนิยมใหม่ รวมทั้งระบบสื่อสารโทรคมนาคมและข้อมูล
ข่าวสาร ล้วนเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ท้าทายต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรม และการเมือง โลกาภิวัฒน์ได้ก่อให้เกิดเงื่อนไขที่สำาคัญอย่างน้อย ๒
ประการ กล่าวคือ
ประการแรก ระบบค้าเสรี กลายเป็นระบอบที่มีอิทธิพลสูงสุด ระบอบ
ทรัพย์สินเอกชน การผลิต การจัดสรร และการกระจายในรูปแบบของกลไกการตลาด
ข้อเสนอแนะเ
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒