Page 36 - 10 เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
P. 36
๑๐ เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
คำาพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำาความผิด จะปฏิบัติ
ต่อบุคคลนั้นเสมือนผู้กระทำาความผิดมิได้” รวมทั้งมาตรา ๔๐ บัญญัติว่า
“บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้ (๔) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา
โจทก์ จำาเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพยานในคดีมีสิทธิได้รับการปฏิบัติ
ที่เหมาะสมในการดำาเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสิทธิ
ในการได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และการไม่ให้
ถ้อยคำาเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง” แต่เนื่องจากการดำาเนินคดีในประเทศไทย
ใช้ระบบกล่าวหา โจทก์มีหน้าที่ต้องนำาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความผิด
ของจำาเลย ซึ่งคดีอาญาบางคดีที่ไม่มีประจักษ์พยาน และพยานหลักฐาน
หาได้โดยยาก หากไม่นำาตัวผู้ต้องหาที่รับสารภาพไปนำาชี้ที่เกิดเหตุ
ก็จะทำาให้ไม่ได้พยานหลักฐานประกอบ ซึ่งในการดำาเนินการต้องได้รับ
ความยินยอมจากผู้ต้องหา และพนักงานสอบสวนต้องแจ้งสิทธิต่าง ๆ
ให้ผู้ต้องหาได้รับทราบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๓๔/๔ วรรคท้าย โดยจัดทำาเป็นเอกสารหรือเป็นลายลักษณ์
อักษรและให้ผู้ต้องหาลงลายมือชื่อให้ความยินยอม เพื่อป้องกันมิให้เกิด
การกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหา
ประเด็นสำาคัญที่จะต้องพิจารณา คือ ในบางครั้งหรือบางสถานที่
ที่มีประชาชนจำานวนมากมามุงดูเหตุการณ์ในการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา
ไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ หรือการทำาแผนประทุษกรรม
ยังมีการทำาร้ายร่างกายผู้ต้องหาในขณะนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบ
คำารับสารภาพ รวมทั้งการที่ผู้สื่อข่าวมาทำาข่าวในขณะที่มีการนำาชี้
ที่เกิดเหตุ ยังมีการนำาเสนอข้อมูลสู่สาธารณชนโดยไม่มีการปกปิด
ใบหน้า ชื่อ – นามสกุล ที่อยู่ และข้อมูลที่แสดงให้ทราบได้ว่าผู้ต้องหาเป็นใคร
34