Page 35 - 10 เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
P. 35
๑๐ เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
ผู้ร้องได้ร้องเรียนผ่านทางโทรศัพท์ต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ ประกอบกับปรากฏเป็นข่าวโดยทั่วไป ว่า กรณีที่พนักงานสอบสวน
หรือเจ้าหน้าที่ตำารวจควบคุมหรือนำาตัวผู้ต้องหาหรือผู้กระทำาความผิด
ไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ เมื่อไปถึงที่เกิดเหตุผู้ต้องหากลับถูก
ประชาชนหรือญาติผู้เสียหาย หรือญาติผู้ตาย หรือผู้ที่มามุงดูเหตุการณ์
รุมประชาทัณฑ์หรือทำาร้ายร่างกาย เป็นเหตุให้ผู้ต้องหาได้รับบาดเจ็บ
หรือถึงแก่ความตาย ทั้ง ๆ ที่อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ตำารวจ
แต่เจ้าหน้าที่ตำารวจมิได้มีมาตรการป้องกันเพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
หรือมิได้มีการลงโทษผู้กระทำาความผิดแต่อย่างใด ผู้ร้องเห็นว่า ถึงแม้
ผู้ต้องหาจะได้กระทำาความผิดจริงและสมควรได้รับโทษตามกฎหมาย
ก็ควรเป็นไปตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม ดังนั้น การที่ประชาชน
ทำาร้ายผู้ต้องหาจึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเป็นการปฏิบัติ
ที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ต้องหาหรือผู้กระทำาความผิด
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมการ
สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมได้รับฟัง
ข้อเท็จจริงจากผู้ร้องและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับข้อคิดเห็นจาก
นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งได้มีการจัดสัมมนาเพื่อรับฟัง
ความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน มีข้อควรพิจารณาสรุปได้ ๒ ประเด็น ดังนี้
ประเด็นที่ ๑ การนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบ
คำารับสารภาพ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
มาตรา ๓๙ วรรคสอง บัญญัติว่า “ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า
ผู้ต้องหาหรือจำาเลยไม่มีความผิด” และวรรคสาม บัญญัติว่า “ก่อนมี
33