Page 37 - 10 เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
P. 37
๑๐ เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
ทำาให้เกิดผลกระทบต่อตัวผู้ต้องหา บุคคลในครอบครัว ญาติพี่น้อง
และคนใกล้ชิด ซึ่งสังคมจะเข้าใจและตีตราว่าผู้ต้องหาที่นำาชี้ที่เกิดเหตุ
ประกอบคำารับสารภาพเป็นผู้กระทำาความผิด ทั้งที่ศาลยังมิได้มีการพิจารณา
พิพากษา ซึ่งในต่างประเทศการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุ
ประกอบคำารับสารภาพจะมีการปกปิดข้อมูลของผู้เสียหายหรือผู้ต้องหา
และในการนำาตัวผู้ต้องหาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ เจ้าหน้าที่
จะคำานึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก เพื่อมิให้เกิดการกระทบต่อสิทธิ
และเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย รวมไปถึงชื่อเสียงของบุคคลนั้นด้วย
ซึ่งหากหลีกเลี่ยงได้จะกระทำาโดยการให้บุคคลอื่นแสดงแทน หรือการให้
ผู้ต้องหาคลุมหมวกโม่งเพื่อปิดบังใบหน้า หรือการใช้รูปภาพ หรือการสร้าง
และตกแต่งรูปภาพต่าง ๆ ด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ชี้เส้นทาง
ในการกระทำาความผิดของผู้ต้องหา แต่กรณีที่มีความจำาเป็นจะต้อง
นำาตัวผู้ต้องหาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุก็ต้องมีการป้องกันโดยกั้นเชือกในพื้นที่
ที่ผู้ต้องหานำาชี้ที่เกิดเหตุ จำานวน ๒ ชั้น รวมทั้งการจัดให้มีมาตรการที่
เหมาะสม รัดกุม และจะต้องไม่กระทำาในลักษณะประจาน ซึ่งในประเทศไทย
หากผู้กระทำาความผิดเป็นเด็ก กฎหมายกำาหนดห้ามจัดให้มีหรือยินยอม
ให้มีการถ่ายภาพเด็กหรือเยาวชน เว้นแต่เพื่อประโยชน์ในการสอบสวน
เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนั้น การนำาตัว
ผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพควรกระทำา
เฉพาะเท่าที่จำาเป็น และเป็นไปด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งควรมี
มาตรการในการป้องกันเพื่อมิให้ผู้ต้องหาถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ส่วนการ
แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ควรเป็นผู้ที่แถลงความคืบหน้าโดย
ไม่ต้องนำาตัวผู้ต้องหาหรือญาติของผู้ต้องหามาร่วมแถลงข่าวด้วย
35