Page 38 - 10 เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
P. 38

๑๐ เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม





               ดังนั้น  การที่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ตำารวจนำาตัวผู้ต้องหา
               ในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพและการแถลงข่าว

               ต่อสื่อมวลชน  จะต้องเป็นไปเพื่อเป็นการรวบรวมพยานหลักฐาน
               ให้มีน้ำาหนักเพียงพอประกอบการพิจารณาของศาล  และให้ศาล
               เชื่อได้ว่าจำาเลยเป็นผู้กระทำาความผิดและพิพากษาลงโทษ  มิใช่การนำาตัว

               ผู้ต้องหาไปประจาน  รวมทั้งต้องมีการคำานึงถึงความปลอดภัย
               ของผู้ต้องหา  การปกปิดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ต้องหา  และการป้องกัน
               มิให้เกิดการกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย  รวมทั้ง

               ชื่อเสียงด้วย

                    ประเด็นที่ ๒ การนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน

                    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๕
               บัญญัติว่า  “สิทธิของบุคคลในครอบครัว  เกียรติยศ  ชื่อเสียง  ตลอดจน

               ความเป็นอยู่ส่วนตัว ย่อมได้รับความคุ้มครอง การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย
               ซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชนอันเป็นการละเมิด
               หรือกระทบสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่

               ส่วนตัวจะกระทำามิได้  เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ”
               ซึ่งหากพิจารณาในด้านบวกเพื่อเป็นการป้องปรามบุคคลมิให้กระทำา
               ความผิดและเป็นการกระตุ้นเตือนภัยให้สังคมเกิดความระมัดระวัง

               แต่ในด้านลบเป็นการกระทบสิทธิของผู้ต้องหา  และเป็นแบบอย่างแก่
               ผู้กระทำาความผิดที่จะศึกษาวิธีการกระทำาความผิดผ่านสื่อมวลชน

               โดยในต่างประเทศเจ้าหน้าที่ของรัฐจะเป็นผู้แถลงเกี่ยวกับความคืบหน้า
               ของคดี  ว่ามีพยานหลักฐานที่ครบถ้วนหรือไม่  หรือคดีอยู่ระหว่าง
               การดำาเนินการของหน่วยงานใด  ซึ่งเป็นการกล่าวถึงกรอบการทำางาน




           36
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43