Page 26 - 10 เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
P. 26
๑๐ เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
การกระทำาความผิดโดยประมาทหรือเป็นความผิดลหุโทษก็ตาม ดังนั้น
จึงควรมีการพิจารณาปรับเปลี่ยนถ้อยคำาเพื่อให้เกิดความเหมาะสม เช่น
จากคำาว่า “ประวัติอาชญากร” เปลี่ยนเป็นคำาว่า “ประวัติผู้ถูกกล่าวหาว่า
กระทำาความผิดอาญา” เพื่อสื่อความหมายให้สังคมเข้าใจได้อย่างชัดเจน
รวมทั้งควรมีการแยกข้อมูลโดยจัดระดับของการกระทำาความผิดว่า
ความผิดในระดับใดควรเปิดเผยข้อมูลได้มากน้อยเพียงใด เพื่อมิให้
เป็นการกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในการเปิดเผยข้อมูลประวัติ
อาชญากร หรือประวัติผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำาความผิดอาญา
จากข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ได้เสนอไปยังคณะรัฐมนตรีดังกล่าวข้างต้น ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้ให้
สำานักงานตำารวจแห่งชาติรับไปพิจารณาดำาเนินการ ซึ่งสำานักงานตำารวจ
แห่งชาติได้อนุมัติหลักการเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๕ โดยให้นำาข้อมูล
กรณีความผิดทุกประเภทที่ศาลมีคำาพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษปรับสถานเดียว
และกรณีตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำา
ด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ ออกจากสารบบข้อมูลประวัติ
อาชญากรเพิ่มเติมจาก ๑๒ กรณีที่มีอยู่เดิม ซึ่งกรณีความผิดทุกประเภท
ที่ศาลมีคำาพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษปรับสถานเดียว มีอยู่ทั้งสิ้นประมาณ
๓๙๐,๐๐๐ ราย โดยภายหลังที่ได้รับอนุมัติหลักการ กองทะเบียนประวัติ
อาชญากรได้นำาข้อมูลออกจากสารบบแล้ว จำานวน ๓๕,๑๒๘ ราย ซึ่งได้
เร่งรัดดำาเนินการดังกล่าวแล้ว ส่วนกรณีที่เป็นไปตามมาตรา ๑๒ แห่ง
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำาด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังไม่มีกรณีดังกล่าวส่งมาให้กองทะเบียนประวัติอาชญากรดำาเนินการ
24