Page 21 - 10 เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
P. 21
๑๐ เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
ผู้ร้องได้มีหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
สรุปได้ว่า ผู้ร้องได้ทำาเรื่องขอผ่อนผันการเข้ารับตรวจเลือกเข้ารับราชการ
ทหารกองประจำาการต่อสัสดีอำาเภอ แต่เนื่องจากผู้ร้องไม่ทราบว่าจะต้อง
ไปรายงานตัว ณ ที่ทำาการคัดเลือกทหาร ส่งผลให้พนักงานอัยการ
ได้ยื่นฟ้องผู้ร้องต่อศาลยุติธรรมแห่งหนึ่ง ในข้อหาไม่รับหมายเรียก
เข้าเป็นทหาร โดยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร
พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๒๕ และมาตรา ๔๔ มีโทษจำาคุกไม่เกิน ๓ เดือน
หรือปรับไม่เกิน ๓๐๐ บาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ ซึ่งศาลพิจารณาลงโทษ
ปรับผู้ร้องเป็นเงิน ๑๕๐ บาท โดยผลจากการที่ผู้ร้องมีประวัติต้องหา
คดีอาญาและประวัติการถูกลงโทษดังกล่าว ทำาให้ผู้ร้องไม่ได้รับการพิจารณา
ให้เข้าทำางานในบริษัทต่าง ๆ ผู้ร้องจึงได้ยื่นคำาร้องต่อกองทะเบียนประวัติ
อาชญากร สำานักงานตำารวจแห่งชาติ เพื่อขอให้ลบทะเบียนประวัติอาชญากร
และทำาลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ร้อง ซึ่งกองทะเบียนประวัติอาชญากร
แจ้งว่า กรณีของผู้ร้องไม่สามารถดำาเนินการให้ได้ เนื่องจากกรณีของผู้ร้อง
ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่ประมวลระเบียบการตำารวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะ
๓๒ บทที่ ๔ ข้อ ๑.๓ กำาหนดไว้
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมการ
ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
ได้พิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยตลอดแล้วเห็นว่า
กรณีของผู้ร้องเป็นความผิดฐานไม่รับหมายเรียกเข้าตรวจเลือกเป็นทหาร
ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๒๕ ซึ่งมีระวางโทษ
จำาคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามร้อยบาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ
เนื่องจากมิใช่ความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว แม้ศาลได้มีคำาพิพากษา
19