Page 23 - 10 เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
P. 23
๑๐ เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
เพิ่มเติม ดังนี้
๑) กรณีความผิดทุกประเภท ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ไม่ว่ากฎหมายฉบับใดที่กำาหนดโทษจำาคุก หรือปรับ หรือทั้งจำาทั้งปรับ
ซึ่งไม่ใช่คดีลหุโทษ หรือคดีที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าลหุโทษ หรือความผิด
ตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก หรือความผิดตามกฎหมายอื่น ๆ ที่กำาหนด
ให้มีโทษปรับสถานเดียว เมื่อมีการนำาคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาล
และศาลมีคำาพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษปรับสถานเดียว
๒) กรณีที่เป็นไปตามหมวด ๗ มาตรการพิเศษแทนการดำาเนิน
คดีอาญา มาตรา ๘๖ และมาตรา ๙๐ แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชน
และครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓
โดยมาตรา ๘๖ วางหลักไว้ว่า กรณีที่เด็กหรือเยาวชนต้องหาว่ากระทำา
ความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำาหนดไว้ให้จำาคุก
ไม่เกินห้าปี ไม่ว่าจะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม ถ้าปรากฏว่าเด็กหรือ
เยาวชนไม่เคยได้รับโทษจำาคุกโดยคำาพิพากษาถึงที่สุดให้จำาคุก เว้นแต่
เป็นโทษสำาหรับความผิดที่ได้กระทำาโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
หากเด็กหรือเยาวชนสำานึกในการกระทำาก่อนฟ้องคดี หากผู้อำานวยการ
สถานพินิจพิจารณาเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นอาจกลับตนเป็นคนดีได้
โดยไม่ต้องฟ้อง ให้จัดทำาแผนแก้ไขบำาบัดฟื้นฟูให้เด็กหรือเยาวชนปฏิบัติ
หากพนักงานอัยการเห็นชอบกับแผนดังกล่าวเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก
หรือเยาวชน โดยให้มีการดำาเนินการตามแผนแก้ไขบำาบัดฟื้นฟูดังกล่าว
ได้ทันทีและรายงานให้ศาลทราบ และมาตรา ๙๐ วางหลักไว้ว่า เมื่อมีการ
ฟ้องคดีต่อศาลว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำาความผิดอาญาซึ่งมีโทษอย่างสูง
ตามที่กฎหมายกำาหนดไว้ให้จำาคุกไม่เกินยี่สิบปี ไม่ว่าจะมีโทษปรับด้วย
21