Page 71 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 71
สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ
๓.๒.๒ แนวทางในการปฎิบัติ
(๑) พนักงานสอบสวนต้องเริ่มสอบสวนคดีโดยไม่ชักช้า
และจะทำาการสอบสวนในที่ใดเวลาใดแล้วแต่จะเห็นสมควร การสอบสวน
ไม่จำาต้องกระทำาต่อหน้าผู้ต้องหา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๓๐
(๒) ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิด
เท่าที่สามารถจะทำาได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ
อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำาผิดและพิสูจน์ให้เห็น
ความผิด หรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๓๑
(๓) ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนตักเตือน พูดให้ท้อใจ
หรือใช้กลอุบายอื่น เพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดให้ถ้อยคำา ซึ่งอยากจะให้ด้วย
ความเต็มใจตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๓๓ วรรคสาม
(๔) ในการถามคำาให้การผู้ต้องหา ห้ามมิให้พนักงาน
สอบสวนทำาหรือจัดให้ทำาการใดๆ ซึ่งเป็นการให้คำามั่นสัญญา ขู่เข็ญ
หลอกลวง ทรมาน ใช้กำาลังบังคับ หรือกระทำาโดยมิชอบด้วยประการใดๆ
เพื่อจูงใจให้เขาให้การอย่างใดๆ ในเรื่องที่ต้องหานั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา
๑๓๕
(๕) การสอบสวนให้ใช้ภาษาไทย แต่ถ้ามีความจำาเป็น
ต้องแปลภาษาไทยท้องถิ่น หรือภาษาถิ่นหรือภาษาต่างประเทศเป็นภาษา
ไทย หรือต้องแปลภาษาไทยเป็นภาษาไทยท้องถิ่นหรือภาษาถิ่นหรือภาษา
ต่างประเทศให้ใช้ล่ามแปล
(๖) ในกรณีผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำาเลย หรือพยาน
ไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทย หรือสามารถพูด หรือเข้าใจเฉพาะ
ภาษาท้องถิ่น หรือภาษาถิ่น มีความจำาเป็นต้องใช้ล่ามให้พนักงานสอบสวน
จัดหาล่ามให้โดยมิชักช้า
47