Page 72 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 72
คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
(๗) ในกรณีที่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำาเลย หรือพยาน
ไม่สามารถพูดหรือได้ยิน หรือสื่อความหมายได้ และไม่มีล่ามภาษามือ
ให้พนักงานสอบสวน จัดหาล่ามภาษามือให้ หรือจัดให้ถามตอบ หรือสื่อ
ความหมายโดยวิธีอื่นที่เห็นสมควร
(๘) เมื่อมีล่ามแปลคำาให้การ คำาพยานหรืออื่นๆ ล่ามต้อง
แปลให้ถูกต้อง ล่ามต้องสาบานหรือปฏิญาณตนว่า จะทำาหน้าที่โดยสุจริตใจ
จะไม่เพิ่มเติมหรือตัดทอนข้อความสิ่งที่แปล และต้องลงลายมือชื่อในคำาแปล
นั้นด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๓
(๙) ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำาคุกสูงเกิน
สามปี หากการตรวจพิสูจน์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๓๑/๑ วรรคหนึ่ง จำาเป็น
ต้องเก็บตัวอย่างเลือด เนื้อเยื่อ ผิวหนัง เส้นผมหรือขน นำ้าลาย ปัสสาวะ
อุจจาระ สารคัดหลั่ง สารพันธุกรรมหรือส่วนประกอบของร่างกาย
จากผู้ต้องหา ผู้เสียหายหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้พนักงานสอบสวน
ผู้รับผิดชอบมีอำานาจให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญดำาเนินการตรวจดังกล่าวได้
แต่กระทำาเพียงเท่าที่จำาเป็นและสมควรโดยใช้วิธีการที่ก่อให้เกิดความ
เจ็บปวดน้อยที่สุดเท่าที่จะกระทำาได้ ทั้งจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
หรืออนามัยของบุคคลนั้น และผู้ต้องหา ผู้เสียหาย หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ต้องให้คำายินยอม หากผู้ต้องหาหรือผู้เสียหาย ไม่ยินยอมโดยไม่มีเหตุ
อันสมควร หรือผู้ต้องหาหรือผู้เสียหายกระทำาการป้องปัดขัดขวางมิให้
บุคคลที่เกี่ยวข้องให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้สันนิษฐานไว้
เบื้องต้นว่า ข้อเท็จจริงเป็นไปตามผลการตรวจพิสูจน์ที่หากได้ตรวจ
พิสูจน์แล้ว จะเป็นผลเสียต่อผู้ต้องหาหรือผู้เสียหายนั้นแล้วแต่กรณี
48