Page 151 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 151
“ความสุข คือ หาความสงบในจิตใจแท้ๆ ของแต่ละคน ข้อนี้เป็นจุดมุ่งหมาย
ของทุกศาสนา การสั่งสอนของศาสนาที่แท้จริง ก็คือ สอนให้คนมีความสุขซึ่งมาจาก
ความนิ่งในใจและความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ถ้าแต่ละคนสามารถที่จะทำาเช่นนี้แล้ว
แล้วก็เผื่อแผ่คนอื่นบ้าง คนอื่นก็จะมีความสุขเหมือนกัน ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
ทั้งในทางวัตถุ ทั้งในทางจิตใจ”
การไม่เบียดเบียนผู้อื่น ก็คือ การเคารพสิทธิความเป็นตัวตนของผู้อื่นนั่นเอง เมื่อทุกคนทำา
แต่ความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่นทั้งในทางวัตถุและจิตใจ ทุกคนย่อมมีความสุข การไม่เบียดเบียนผู้อื่นของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น มิได้มุ่งเพียงการเบียดเบียนทางกาย ทางวัตถุ แต่ได้มุ่งถึงการ
ไม่เบียดเบียนทางใจด้วย สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สูงค่ากว่าการเบียดเบียนทางร่างกายหรือวัตถุหลายเท่านัก
เห็นได้ชัดว่า ธรรมะข้ออวิหิงสาที่พระมหากษัตริย์ของไทยทรงถือปฏิบัติมาแต่โบราณกาลนั้น
นำาหน้าความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนของชาวยุโรปอย่างเทียบกันไม่ติดทีเดียว
ในภาษาไทย มีคำาว่า เกรงใจ เป็นหลักปฏิบัติของคนไทยโดยทั่วไป เมื่อกระทำาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ที่อาจทำาให้ผู้อื่นรำาคาญ อึดอัด หรือทำาให้ผู้อื่นเดือดร้อนก็จะไม่ทำาเพราะมีความเกรงใจ ความเกรงใจ
คือ ความเคารพสิทธิของผู้อื่น เราไม่เปิดวิทยุเสียงดังรบกวนชาวบ้านเพราะเกรงใจ เราเกรงใจเพื่อนบ้าน
จึงไม่ปล่อยให้สุนัขของเราไปทำาความสกปรกหน้าบ้านเขา เราเกรงใจที่จะขับรถตัดหน้ารถคันอื่น
เราเกรงใจที่จะไม่ขับแซงรถผู้อื่นที่เรียงกันเพื่อรอที่จะขึ้นสะพานหรือรอสัญญาณไฟเขียว เราเกรงใจ
พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น 151