Page 154 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 154

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดมั่นในพระธรรมของพระพุทธศาสนา ทรงเชื่อมั่นว่า
               “ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมจะมีชีวิตและกิจการงานที่ประกอบด้วยความสว่าง สะอาด และสงบ” นอกจาก
               จะยึดมั่นในธรรมะของพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัดแล้วยังทรงเชื่อมั่นในคำาสั่งสอนของศาสนาอื่นที่ทรง

               เป็นองค์อุปถัมภกด้วย จึงไม่เคยมีสักครั้งที่จะได้ทรงกระทำาสิ่งใดที่เป็นการขัดต่อหลักธรรมของศาสนา
               ไม่ว่าจะพิจารณาจากศาสนาใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นองค์อุปถัมภกของทุกศาสนาด้วย

               ความสุจริตพระทัย พระองค์เสด็จไปทรงเป็นประธานในกิจกรรมสำาคัญๆ ของศาสนาอื่นโดยพระองค์
               เต็มพระราชหฤทัย พระบรมราโชวาทที่สะท้อนให้เห็นถึงพระราชหฤทัยในเรื่องจิตใจมั่นคงในความสุจริต
               คือ พระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ผู้ที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระตำาหนักจิตรลดา

               เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พุทธศักราช  ๒๕๓๘ ตอนหนึ่ง ความว่า

                             “นอกจากจะอาศัยความรู้ความสามารถในทางวิชาการแล้ว แต่ละบุคคลยัง

                      จะต้องมีรากฐานทางจิตใจที่ดี  คือ ความหนักแน่นมั่นคงในสุจริตธรรม และความมุ่งมั่น
                      ที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้จนเสร็จ ทั้งต้องมีกุศโลบายหรือวิธีการอันแยบคายในการปฏิบัติงาน
                      ประกอบกันพร้อมด้วย จึงจะสัมฤทธิ์ผลที่แน่นอน และบังเกิดประโยชน์ อันยั่งยืน

                      ทั้งแก่ตนเองและแผ่นดิน”

                      เมื่อพิจารณาทศพิธราชธรรมทั้ง ๑๐ ข้อแล้ว จะเห็นได้ว่า ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชของ

               ประเทศไทยนั้น พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงกำาหนดแนวทางปฏิบัติพระองค์ไว้ในทางที่ล้วนเป็นคุณต่อ
               ประเทศ และอำานวยสุขแก่พสกนิกรประชาชนคนไทยทั้งสิ้น ถ้าจะกล่าวถึงการมีสิทธิ พระมหาษัตริย์ไทย

               ทรงปฏิบัติเพื่อให้พสกนิกรได้รับสิทธิมากกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่พูดกันเป็นสากล
               เพราะสิทธิที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานมาแต่โบราณกาลนั้นได้พระราชทานมาด้วยพระเมตตา
               และด้วยพระราชหฤทัยที่ปรารถนาให้พสกนิกรมีความสุขอย่างถ้วนทั่ว ประเทศชาติสงบสุข พระบาท

               สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตั้งคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นคณะ
               องคมนตรีในพุทธศักราช ๒๔๙๒ เพื่อที่จะให้คณะองคมนตรีได้สอดส่องเหตุการณ์ที่เป็นความเดือดร้อน

               ของราษฎรมากราบบังคมทูลให้ทรงทราบ ในสมัยปัจจุบันพระมหากษัตริย์ของไทยทรงอยู่ภายใต้
               รัฐธรรมนูญ  ไม่มีสิทธิและหน้าที่บริหารประเทศได้อย่างในสมัยที่ปกครองด้วยระบอบ
               สมบูรณาญาสิทธิราช แต่พระองค์ยิ่งทรงห่วงใยพสกนิกรทุกหมู่เหล่า และได้พระราชทานความ

               ช่วยเหลืออย่างสุดกำาลัง พระองค์ได้พระราชทานขวัญและกำาลังใจให้ทุกคนมีมานะที่จะต่อสู้กับอุปสรรค
               และภัยพิบัติต่างๆ ด้วยสติ ด้วยความรอบคอบ และด้วยความรู้เท่าทันถึงเหตุที่ทำาให้เกิดทุกข์นั้นๆ

               ทรงปลอบขวัญให้กำาลังใจผู้ประสบทุกข์ยาก ทรงพระราชดำาริหาวิธีการต่างๆ เพื่อปลดเปลื้องความทุกข์
               ของพสกนิกรในทุกกรณี พระองค์ไม่เคยทรงปล่อยให้พสกนิกรของพระองค์ต้องเผชิญความทุกข์ยาก
               โดยไม่ได้รับการเหลียวแล ทรงถือว่าความยากจนของราษฎรเป็นศัตรูที่พระองค์จะต้องทรงต่อสู้

               เพื่อเอาชนะให้จงได้ พระองค์ทรงรักราษฎร ทรงรักประเทศและทรงมุ่งมั่นทำานุบำารุงและพัฒนา
               ประเทศชาติให้มั่นคงถาวร พระองค์ทรงปฏิบัติและวางพระองค์เสมือนเป็นคนไทยคนหนึ่ง มีสิทธิและ

               หน้าที่เท่ากับคนไทยทุกคน มิทรงถือพระองค์ และทรงปฏิบัติภารกิจส่วนรวมทำางานเพื่อความเจริญ


             154     พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159