Page 150 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 150

“ในการดำาเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจ ไม่กระทำาสิ่งใดๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจ

                      จริงว่าชั่วว่าเสื่อม เราต้องฝึกต้องต้านความคิดและความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่า
                      ขัดกับธรรมะ  เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำาสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี

                      เป็นความถูกต้องและเป็นธรรม ถ้าเรารวมกันทำาอย่างนี้ให้ได้จริงๆ ให้ผลของความดี
                      บังเกิดมากขึ้นๆ ก็จะช่วยคำ้าจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้น
                      ได้เป็นลำาดับ”


                      ทศพิธราชธรรมข้อที่ ๙ คือ อวิหิงสา แปลว่า ความไม่เบียดเบียนผู้อื่น ธรรมะข้อนี้มีความหมาย
               ตรงกับเรื่องสิทธิมนุษยชนโดยตรง ด้วยเป็นเรื่องการเคารพสิทธิของผู้อื่น ไม่เบียดเบียน ไม่ก้าวล่วงสิทธิ

               ของผู้อื่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยทรงเบียดเบียนผู้ใด มีแต่ทรงพระเมตตาเกื้อหนุนจุนเจือ
               อุปถัมภ์คำ้าจุนทั้งพสกนิกรของพระองค์ ประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านและประชาชนของประเทศอื่น

               โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่ประสบภัยพิบัติอันตรายต่างๆ ทุกครั้งที่เกิดภัยธรรมชาติไม่ว่าจะเกิดกับ
               คนไทยหรือกับชนชาติอื่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานความช่วยเหลือทันทีโดยไม่รั้งรอ

                      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เพียงแต่พระราชทานความช่วยเหลือราษฎรด้วยสิ่งของบรรเทา

               ทุกข์ต่างๆ เท่านั้น หากยังทรงสั่งสอนประชาชนให้มีความเมตตาต่อกัน ไม่เบียดเบียนกันเพื่อให้ทุกคน
               มีความสุข ดังพระราชดำารัสที่พระราชทานแก่ผู้ที่มาเฝ้าถวายพระพรในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
               ที่ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ ความว่า


             150     พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155