Page 146 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 146

“ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรม

                      ให้เกิดมีขึ้นในตนเองเพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์และมีชีวิตที่สะอาด
                      ที่เจริญมั่นคง”

                      และในวันที่ ๑๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๑๒ ณ พระตำาหนักจิตรลดารโหฐาน ได้พระราชทาน

               พระบรมราโชวาทแก่คณะนายทหารซึ่งได้รับพระราชทานเลื่อนยศชั้นนายพลเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์
               พุทธศักราช ๒๕๑๔ ทรงยำ้าถึงความสำาคัญของการรักษาความซื่อสัตย์สุจริต ความตอนหนึ่งว่า


                             “..ถ้าไม่รักษาวินัย ไม่รักษาความเป็นธรรม ไม่รักษาความขยันหมั่นเพียร
                      ความซื่อสัตย์สุจริตแล้ว เราก็ย่อมจะล่มจม เพราะว่า ความเป็นธรรม ความซื่อสัตย์
                      สุจริต ความขยันหมั่นเพียร ความตั้งใจทำาตามหลักวิชานั้นเป็นการสร้างพื้นฐานที่ดี

                      สำาหรับบ้านเมือง..”

                      ทศพิธราชธรรมข้อที่ ๖ คือ มัททวะ แปลว่า ความอ่อนโยน ความไม่ถือพระองค์ ภาพ

               ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ประทับลงมีพระราชปฏิสันถารกับราษฎรที่มาเฝ้าทูลละออง
               ธุลีพระบาทอย่างใกล้ชิดนั้นเป็นภาพที่ชินตาประชาชนชาวไทย  นับตั้งแต่เริ่มเสด็จออกเยี่ยม

               ราษฎร  พสกนิกรทุกท้องถิ่นได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอย่างใกล้ชิด  พระองค์พระราชทาน
               พระราชานุญาตให้ราษฎรเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอย่างไม่ทรงถือพระองค์ ผู้มาเฝ้าฯ บางคนนำา
               ดอกไม้ ผลไม้หรือข้าวของต่างๆ มาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายด้วยความจงรักภักดีตามอัตภาพ

               ของแต่ละคน  ก็ทรงรับไว้ทั้งหมดโดยไม่ทรงรังเกียจ  ไม่ทรงถือว่าไม่มีค่า  ความอ่อนโยนของ
               พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สะท้อนให้เห็นว่า ไม่ได้ทรงถือว่าพระองค์มีสิทธิใดๆ เหนือผู้อื่น

               ทรงเห็นคุณค่าของราษฎรทุกคนและได้ทรงพยายามที่จะยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคนให้พ้น
               จากความยากจนขัดสน มีพระราชดำารัสตอนหนึ่งกับผู้ใกล้ชิดที่แสดงให้เห็นว่า ทรงถือพระองค์
               เป็นคนธรรมดาที่สามารถมีอาชีพได้เช่นเดียวกับผู้อื่น ความว่า


                             “ฉันเป็นกษัตริย์ก็จริง  แต่ฉันก็ยังมีอาชีพเป็นช่างภาพของหนังสือพิมพ์
                      แสตนดาร์ด ได้เงินเดือน เดือนละ ๑๐๐ บาท”


                      ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยเป็นสิ่งที่ยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า
               ทรงคำานึงถึงฐานะความเป็นอยู่ของคนทุกคน ทรงปรารถนาให้ทุกคนได้รับสิทธิที่จะดำารงชีวิตได้อย่าง
               เป็นสุขตามอัตภาพของแต่ละบุคคล ทรงปรารถนาให้ทุกคนได้รับสิทธิที่จะทำามาหากินเพื่อให้ยืนหยัดได้

               ด้วยความสามารถของตนโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น วัฒนธรรมไทย คนไทยได้รับการอบรมสั่งสอนจากพ่อ
               แม่ปู่ย่าตายายให้มีความอ่อนโยน มีสัมมาคารวะ รู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่ ทำาให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความ

               ผูกพันกันด้วยนำ้าใจ ไม่แข็งกระด้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่
               นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๖ ตอนหนึ่ง ความว่า




             146     พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151