Page 148 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 148

“ในวงสังคมนั้นเล่า ท่านจะต้องรักษามารยาทอันดีงามสำาหรับสุภาพชน
                      รู้จักสัมมาคารวะไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละ

                      ประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม”

                      นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้พระราชทานพระบรมราโชวาทเพื่อให้อัญเชิญ
               ไปอ่านในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๘ กรกฎาคม

               พุทธศักราช ๒๕๔๑ ทรงสั่งสอนให้บัณฑิตรู้จักประมาณตนดังข้อความว่า
                             “การรู้จักและยอมรับว่าตนเองมีภูมิปัญญาและความสามารถในด้านใด
                      เพียงใดและควรจะทำางานด้านไหน อย่างไร การรู้จักประมาณตนนี้ จะทำาให้คนเรารู้จัก

                      ใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ได้ถูกต้องเหมาะสมกับงาน”

                      ทศพิธราชธรรมข้อที่ ๗ คือ ตปะ แปลว่า ความเพียรเผากิเลส หมายถึง การบำาเพ็ญตน

               เพื่อให้กิเลสเบาบางจนหมดสิ้นไป ธรรมะข้อนี้มีหลักสำาคัญอยู่ ๒ ประการ คือ ความเพียรอย่างสมำ่าเสมอ
               กับการข่มกิเลสตัดกิเลสซึ่งเป็นเครื่องเศร้าหมองที่จะนำาบุคคลไปสู่ทางแห่งความชั่วได้ คนที่สามารถ

               กำาจัดกิเลสหรือพยายามทำาให้กิเลสลดลงได้จะตั้งมั่นอยู่ได้ในทางดี ไม่ประพฤติชั่ว คนที่เพียรบำาเพ็ญ
               เพื่อขจัดกิเลส ขจัดความอยากได้ใคร่เป็นจะไม่มีความโลภความโกรธหรือความหลง ธรรมะข้อนี้นอกจาก
               จะทำาให้มีความเพียรในการขจัดกิเลสแล้ว ยังนับเป็นธรรมะเพื่อความสำาเร็จอีกด้วย ไม่ว่าจะทำาการใด

               ถ้าผู้ทำามีความเพียร ขจัดความหลงผิด ความมักง่าย ขจัดการพิจารณาสิ่งที่ทำาอย่างผิวเผิน แต่ตั้งใจทำา
               ด้วยความรอบคอบ และมีความอุตสาหะ การกระทำานั้นย่อมประสบความสำาเร็จ แต่การที่กระทำานั้น

               ต้องเป็นความดี ความถูกต้อง ความเป็นธรรม ความเพียรกระทำานั้นจึงจะเป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเอง
               และแก่ส่วนรวม
                      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชวิริยะอุตสาหะในการแก้ปัญหาของราษฎร ไม่ว่าปัญหา

               นั้นจะเล็กหรือใหญ่เพียงไร ทรงศึกษาปัญหาทุกปัญหาอย่างละเอียด แล้วทรงพิจารณาหาทางแก้ที่ต้นตอ
               ของปัญหา พระองค์เสด็จพระราชดำาเนินไปสืบเรื่องราวด้วยพระองค์เอง ทอดพระเนตรสิ่งต่างๆ ด้วย

               พระองค์เอง ทรงทดลองวิธีการแก้ไขจนแน่พระราชหฤทัย แล้วจึงทรงแนะนำาให้ราษฎรปฏิบัติ ดังนั้น
               ทรงแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดนำ้า ปัญหาดินทะลาย ปัญหานำ้าท่วม ปัญหา
               ดินเสื่อมสภาพ ปัญหาการปลูกฝิ่นของชนกลุ่มน้อย หรือปัญหาอื่นใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง

               ทำางานด้วยความพากเพียรอดทน ไม่ทรงย่อท้อเมื่อพบอุปสรรค แต่จะทรงพยายามหาทางเพื่อแก้ปัญหา
               นั้นๆ ให้สำาเร็จลุล่วงไปจนได้ เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

               ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท แก่นักเรียนโรงเรียนจิตรลดาที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ความว่า

                             “กิจการทุกอย่าง รวมทั้งการดำารงชีวิตที่ดี จะต้องปรับปรุงตัวตลอดเวลา และ
                      การปรับปรุงตัวนี่จะต้องมีความเพียรและความอดทนเป็นที่ตั้ง ถ้าคนเราไม่มีความเพียร

                      ไม่มีความอดทนก็อาจจะท้อใจไปโดยง่าย ความดีทั้งหลายเราต้องสะสมและเพิ่มเติม
                      อยู่เรื่อยๆ ถึงจะสามารถที่จะมีชีวิตดำารงอยู่ได้ ถ้าขาดอาหารเราก็ผอมลง หิว เป็นทุกข์
                      ถ้าทำาดี ทำาสิ่งที่สุจริตด้วยความสามารถ ด้วยความอดทนพากเพียร เราอาจจะไม่ผอมโซ”


             148     พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น
   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153