Page 9 - การรวบรวมและวิเคราะห์เปรียบเทียบ รายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคณะอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่ง แร่ และสิ่งแวดล้อม ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (พ.ศ. 2545 - 2550) : (รายงานหลัก)
P. 9
ั
คณะผู้ศึกษาได้แบ่งกลุ่มกรณีออกตามลักษณะของปญหาและประเภทของโครงการ ได้ดังนี้
ั
ประเด็นฐานทรัพยากรน ้า แบ่งกลุ่มลักษณะปญหาออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กรณีเกี่ยวกับ
เขื่อนและอ่างเก็บน ้า ฝายขนาดใหญ่ 2) กรณีเกี่ยวกับคลองส่งน ้า 3) กรณีเกี่ยวกับการเปลี่ยนสภาพแหล่งน ้า
และสร้างสิ่งกีดขวางหรือล่วงล ้าแหล่งน ้า และ 4) กรณีความขัดแย้งในการจัดการน ้า
ั่
ั
ประเด็นฐานทรัพยากรชายฝงทะเล แบ่งกลุ่มลักษณะปญหาออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กรณี
ั่
เกี่ยวกับโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือและโครงสร้างวิศวกรรมชายฝง 2) กรณีเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ดินชายฝง ั่
ทะเล และ 3) กรณีความขัดแย้งเกี่ยวกับนโยบายและกิจกรรมทางทะเลต่างๆ รวมถึงความช่วยเหลือภายหลัง
ธรณีพิบัติภัยสึนามิ
ประเด็นฐานทรัพยากรแร่ จะครอบคลุมถึงฐานทรัพยากรธรณีอื่นๆไว้ด้วย โดยแบ่งกลุ่ม
ั
ั
ั
ลักษณะปญหาออกเป็น 5 กลุ่ม คือ 1) กรณีปญหาจากกิจกรรมเหมืองหินและโรงโม่หิน 2) กรณีปญหาจาก
ั
ั
เหมืองแร่ โรงแต่งแร่ และการขนส่งแร่ 3) กรณีปญหาจากการสูบและต้มน ้าเกลือ 4) กรณีปญหาจากการขุด
ั
ดินและดูดทราย และ 5)กรณีปญหาเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ดินบริเวณเหมืองแร่เก่า
ั
ั
ประเด็นปญหาด้านสิ่งแวดล้อม แบ่งกลุ่มลักษณะปญหาออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กรณี
ั
ั
ปญหาจากโครงการพัฒนาพลังงานและประเด็นที่เกี่ยวข้อง 2) กรณีปญหาจากมลพิษโรงงานอุตสาหกรรม
ั
และ 3) กรณีปญหาความขัดแย้งในการจัดการสิ่งแวดล้อมอื่นๆรวมถึงความขัดแย้งเชิงนโยบายและแผนงาน
การพัฒนาที่อาจยังไม่เกิดขึ้น
3. หลักเกณฑ์และบทบัญญัติในการตรวจสอบเพื่อคุ้มครองสิทธิ
หลักเกณฑ์ส าคัญที่ได้มีการน ามาใช้ ดังนี้
รัฐธรรมนูญ โดยระหว่างวาระของคณะอนุกรรมการฯได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2
ฉบับ จึงมีการน ามาใช้ตามช่วงเวลาในการตรวจสอบ ทั้งนี้มีการน ามาปรับใช้เพียงบางมาตรา ได้แก่
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ว่าด้วยหมวดบททั่วไป หมวดสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
หมวดนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หมวดรัฐสภา ส่วนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 หมวดสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ส่วนสิทธิชุมชน ส่วนแนวนโยบายด้าน
ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
กติการะหว่างประเทศ คณะอนุกรรมการฯหยิบยกมาใช้เพียง 2 ฉบับ และบางข้อที่
เกี่ยวข้อง ได้แก่ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ว่าด้วยสิทธิในการ
ก าหนดวิถีชีวิตตนเอง การตีความในเรื่องสิทธิปวงชนต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และ กติการะหว่าง
ประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ว่าด้วยสิทธิในการก าหนดวิถีชีวิตตนเอง สิทธิใน
การได้รับมาตรฐานขั้นพื้นฐานในการครองชีพ สิทธิและเสรีภาพในการใช้และได้รับประโยชน์จาก
ทรัพยากรธรรมชาติ
กฎหมายทั่วไป คณะอนุกรรมการได้น ากฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง
ประกาศกระทรวง ระเบียบ ตลอดทั้งมติคณะรัฐมนตรี มาใช้ประกอบ โดยจะเป็นการหยิบยกมาใช้เพียงบาง
มาตรา แต่กฎหมายที่ใช้เกือบทุกกรณี คือ พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2530 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 ส่วน
กฎหมายอื่นก็เป็นการใช้ตามรายกรณี เช่น พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 พระราชบัญญัติการขุดดินและถม
ดิน พ.ศ.2543 เป็นต้น