Page 6 - การรวบรวมและวิเคราะห์เปรียบเทียบ รายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคณะอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่ง แร่ และสิ่งแวดล้อม ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (พ.ศ. 2545 - 2550) : (รายงานหลัก)
P. 6
ค ำนิยม
หนังสือ “การรวบรวมและวิเคราะห์เปรียบเทียบรายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิ
มนุษยชน” ของคณะอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน ้า ชายฝั่ง แร่ และสิ่งแวดล้อมของ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (พ.ศ. 2544 – 2550) ซึ่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 2
ท่าน ในยุคนั้น คือ คุณวสันต์ พานิช และ คุณสุนี ไชยรส เป็นผู้รับผิดชอบการตรวจสอบ คณะผู้
ศึกษาวิจัยอันประกอบด้วย อาจารย์ ศศิน เฉลิมลาภ คุณสรัตนมณี พลกล้า และคุณเพ็ญพรรณ อินท
ปันตี เห็นตรงกันว่าผลการตรวจสอบในกรณีร้องเรียนต่างๆรวมทั้งสิ้น 247 กรณีมีคุณค่าสะท้อน
ปัญหาและการท างานสิทธิมนุษยชนของสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรม ท่านก็ได้ลงพื้นที่เผชิญกับ
ความเป็นจริงของปัญหาการละเมิดและการท างานต่อสู้เรื่องสิทธิต่างๆอย่างใกล้ชิด การศึกษาวิจัย
ในครั้งนี้ ซึ่งมีความหมายที่จะน าไปสู่องค์ความรู้ใหม่เพื่อการท างานสร้างสิทธิที่เป็นจริง เกิด
กระบวนการท างานเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนต่อไป
องค์ความรู้ใหม่ที่เกิดจากความอุตสาหะวิริยะของคณะผู้ศึกษาทั้ง 3 ท่านอันควรแก่
ขยายต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในกระบวนการท างานสิทธิมนุษยชนที่ส าคัญ ได้แก่
ประการแรก การใช้องค์ความรู้ทางหลักสิทธิมนุษยชนตามกติกาสากลระหว่าง
ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและทางการเมือง , สิทธิเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทยทั้งฉบับปี พ.ศ. 2540 และ ฉบับ พ.ศ. 2550 ร่วมกับ พ.ร.บ. คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 และ กฎหมายใดๆที่เกี่ยวข้องด้วยล้วนแล้วแต่ให้อ านาจกับ
หน่วยงานของรัฐในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนในกรณีร้องเรียนต่างๆทั้งสิ้น ปัญหาการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชนส่วนใหญ่จึงอยู่ที่ การบังคับใช้กฎหมาย เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้น ใน
บางกรณีกฎหมายบางฉบับยังอาจขาดมิติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและการมีส่วนรวมของประชาชน
เนื่องจากเป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ก็จ าเป็นต้องมีข้อเสนอในการ
ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายโดยหน่วยงานนั้นๆ
ประการต่อมา การท างานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการ
เชื่อมโยงและประสานความร่วมมือกับรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น
ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิที่เป็นจริงให้เกิดขึ้น เพื่อให้บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
ในมาตรา 27 บรรลุผลที่เป็นจริงในประเด็นสิทธิ และเสรีภาพตามที่ได้รับรองไว้ย่อมได้รับความ
คุ้มครองและผูกพันกับทุกองค์กรและหน่วยงานของรัฐ เพราะหลักการที่ส าคัญของสิทธิมนุษยชนก็
คือ สิทธิของประชาชนต้องเป็นหน้าที่ของบุคคลและองค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องยอมรับ และมี
มาตรการในการคุ้มครอง ส่งเสริม สิทธิของประชาชนจึงจะเกิดขึ้น และต้องเน้นในเชิงป้ องกัน
มาตราการชดเชยเยียวยา