Page 39 - การรวบรวมและวิเคราะห์เปรียบเทียบ รายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคณะอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่ง แร่ และสิ่งแวดล้อม ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (พ.ศ. 2545 - 2550) : (รายงานหลัก)
P. 39
แห่งชาติแต่งตั้งเพื่อท าการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ให้ถือเป็นเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมาย
7
อาญา โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 33
ข. ที่มาของกรณีร้องเรียน
1. ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนยื่นค าร้องเป็นหนังสือ โดยในหนังสือดังกล่าวควรมี
รายละเอียด ดังต่อไปนี้
(1) ชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องหรือผู้ท าการแทน
(2) ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันเป็นเหตุแห่งการกระท าหรือการละเลยการกระท าอันเป็น
การละเมิดสิทธิมนุษยชน
(3) ลายมือชื่อของผู้ร้องหรือผู้ท าการแทนที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากผู้มีสิทธิยื่นค า
ร้อง
นอกจากนี้ บุคคลผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนยังสามารถร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนด้วยวาจาได้
โดยการร้องเรียนสามารถยื่น ณ ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือส่ง
ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือจะยื่นต่อกรรมการคนใดคนหนึ่งหรือองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน
เพื่อส่งต่อไปยังส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือด้วยวิธีการอื่นใดตามที่คณะกรรมการ
ก าหนดก็ได้
เมื่อได้รับค าร้องแล้ว ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต้องแจ้งผู้ร้องหรือ
ผู้ท าการแทนให้ทราบโดยไม่ชักช้าแต่ไม่เกินสามวันนับแต่วันที่ได้รับค าร้อง ซึ่งวิธีการร้องเรียนดังกล่าว
8
ก าหนดไว้ในมาตรา 23
2. ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนร้องเรียนผ่านองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน หรือหาก
องค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนพบว่ามีการกระท าหรือการละเลยการกระท าอันเป็นการละเมิดสิทธิ
มนุษยชน องค์กรดังกล่าวก็สามารถเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเพื่อให้ด าเนินการ
ตรวจสอบได้ แต่องค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนดังกล่าวกฎหมายก าหนดให้ต้องเป็นนิติบุคคลตาม
กฎหมายไทย ซึ่งมีการด าเนินกิจการเกี่ยวข้องโดยตรงกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามที่
คณะกรรมการก าหนดและมิได้มีวัตถุประสงค์ในทางการเมืองหรือมุ่งค้าหาก าไรจากการด าเนินกิจการดังกล่าว
9
โดยได้ก าหนดไว้ในมาตรา 24
3. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเห็นเองให้มีการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณี
10
ต่างๆ โดยก าหนดไว้ในมาตรา 25
ค. ขั้นตอนการตรวจสอบ
1. เมื่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้รับค าร้องเรียนหรือพบเห็นกรณีการละเมิดสิทธิ
มนุษยชน และเห็นว่า กรณีดังกล่าวมีมูลและอยู่ในอ านาจหน้าที่ของคณะกรรมการ คณะกรรมการจะต้อง
ด าเนินการ ดังนี้
(1) แจ้งไปยังบุคคลหรือหน่วยงานที่ถูกอ้างว่า เป็นผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือบุคคลหรือ
หน่วยงานที่คณะกรรมการเห็นว่า เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อให้บุคคล
7
โปรดดูภาคผนวก หมวดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ว่าด้วยพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 33
8
โปรดดูภาคผนวก หมวดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ว่าด้วยพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 23
9
โปรดดูภาคผนวก หมวดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ว่าด้วยพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 24
10
โปรดดูภาคผนวก หมวดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ว่าด้วยพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 25
23