Page 418 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2567)
P. 418
ประกาศส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เรื่อง มาตรการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจ
โดยที่เป็นการสมควรก าหนดมาตรการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจ เพื่อเป็นกรอบและแนวทาง
ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของเจ้าหน้าที่ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้เป็นไป
ตามข้อก าหนดทางจริยธรรมข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของส านักงานคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ และเป็นการส่งเสริมธรรมาภิบาล โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม
และความโปร่งใสในการด าเนินงาน ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงก าหนดมาตรการ
ตรวจสอบการใช้ดุลพินิจส าหรับข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของส านักงานคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
๑. การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในการด าเนินงานตามภารกิจหลัก
๑.๑ ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นก ากับดูแล และติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงาน ตลอดจน
การใช้ดุลพินิจของผู้ใต้บังคับบัญชา ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน
คู่มือการปฏิบัติงาน และขั้นตอนที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
๑.๒ หากพบว่าในภารกิจใดยังไม่มีมาตรฐานหรือคู่มือการปฏิบัติงาน หรือมาตรฐานหรือ
คู่มือการปฏิบัติงานไม่ทันสมัยหรือไม่เหมาะสมในทางปฏิบัติ หรืออาจก่อให้เกิดการใช้ดุลพินิจที่อาจน ามา
ซึ่งความไม่โปร่งใส ไม่เป็นธรรม และไม่มีประสิทธิภาพ ให้ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานที่รับผิดชอบ
และหรือผู้ปฏิบัติตามมาตรฐานหรือคู่มือการปฏิบัติงาน เสนอให้มีหรือทบทวนมาตรฐานหรือ
คู่มือการปฏิบัติงานดังกล่าว
๑.๓ ให้ส านักบริหารกลาง โดยกลุ่มงานที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่ในการสอบทานการใช้ดุลพินิจ
ในการปฏิบัติงานจากผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น เพื่อประมวลให้เห็นถึงปัญหา อุปสรรค และแนวทาง
การปรับปรุง อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
๒. การใช้ดุลพินิจในการใช้จ่ายงบประมาณและบริหารจัดการทรัพยากร
๒.๑ ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นก ากับดูแล และติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงาน ตลอดจน
การใช้ดุลพินิจของผู้ใต้บังคับบัญชา ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน
คู่มือการปฏิบัติงาน และขั้นตอนที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง การใช้จ่ายงบประมาณ และการบริหาร
ทรัพยากรอย่างเคร่งครัด
๒.๒ กรณีการจัดซื้อจัดจ้างมีวงเงินเล็กน้อยที่ด าเนินการได้โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการ
ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ให้เจ้าหน้าที่พิจารณาโดยสืบราคา
จากท้องตลาดและเลือกรายที่เสนอราคาตามเกณฑ์ที่ส่วนราชการก าหนด โดยยึดถือประโยชน์สูงสุด
ที่ทางราชการจะได้รับ
๒.๓ กรณีการจัดซื้อจัดจ้างโดยคณะกรรมการ หากพบว่าผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาเป็นผู้
มีส่วนได้เสียกับประธานกรรมการหรือกรรมการคนหนึ่งคนใด ให้รายงานเลขาธิการคณะกรรมการ
แห่งชาติเพื่อพิจารณาทบทวนองค์ประกอบของคณะกรรมการ ทั้งนี้ ห้ามมิให้ประธานกรรมการ
หรือกรรมการ ที่มีส่วนได้เสียดังกล่าวเข้าร่วมประชุมหรือมีมติในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้ยื่นข้อเสนอ
หรือคู่สัญญานั้น หากมีกรณีจ าเป็นต้องมีการชี้แจงในบางเรื่อง เมื่อได้ชี้แจงและตอบข้อซักถามแล้ว
จะต้องออกจากที่ประชุม
407