Page 145 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 145
สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ
(๑๓) มีการขออนุมัติ “กฎการใช้กำาลัง” ต่อผู้
บัญชาการตำารวจแห่งชาติ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบหรือเป็นเจ้าภาพ
ในการจัดงานเช่น กระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด
(ในกรณีต่างจังหวัด) โดยอย่างน้อยต้องระบุอำานาจการอนุมัติการใช้กำาลัง
ขั้นสุดท้ายต่อกลุ่มผู้ชุมนุม โดยอาจใช้คณะผู้ทำางานระดับยุทธศาสตร์
ของแต่ละจังหวัด (โปรดดู คณะกรรมการจังหวัดตาม พ.ร.บ. ระเบียบ
บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔) หรือตามแผนของจังหวัดที่กำาหนดไว้
และอาจมีการขออนุมัติใช้ “ระดับการใช้กำาลังต่อผู้ชุมนุมตามที่คาดว่า
จะก่อเหตุ” ตามการข่าวที่ได้รับไว้เช่นเดียวกับกฎการใช้กำาลัง
๓.๑๘.๔ แนวทางในการปฏิบัติ การควบคุมฝูงชนและ
การสลายฝูงชนที่สามารถกระทำาได้
(๑) ให้ประกาศแจ้งเตือนว่าการชุมนุมดังกล่าว
ผิดกฎหมาย ให้ผู้ชุมนุมปฏิบัติตาม ป.อ. มาตรา ๒๑๖ ที่บัญญัติว่า “เมื่อ
เจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมเพื่อกระทำาความผิดตามมาตรา ๒๑๕ (คือ มั่วสุม
กันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำาลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำาลังประทุษร้าย
หรือกระทำาการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง)”
ให้เลิกไป ผู้ใดไม่เลิกต้องระวางโทษจำาคุก ฯ
(๒) ให้มีการแจ้งเตือนถึงกำาหนดเวลาและเส้นทาง
การออกจากที่ชุมนุม
(๓) นโยบายของสำานักงานตำารวจแห่งชาติ จะใช้วิธีการ
จับกุมแกนนำา และกลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่ยอมออกจากที่ชุมนุมตามคำาสั่งเตือน
ดังกล่าวมากกว่าที่จะใช้กำาลังสลายการชุมนุม
121