Page 146 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 146
คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
(๔) ผู้บัญชาการเหตุการณ์จะใช้กระบวนการแสวงหา
ข้อตกลงทางยุทธวิธี ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายและการยอมรับของสังคม
ในการตกลงใจที่จะเลือกใช้วิธีการปฏิบัติในการแก้ไขการควบคุมฝูงชน
โดยคำานึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
(๔.๑) ภารกิจหรือข้อกำาหนด หรือนโยบายที่
หน่วยเหนือหรือผู้มีอำานาจอนุมัติใช้กำาลังขั้นสุดท้ายสั่งการหรืออนุมัติ
ให้ดำาเนินการได้
(๔.๒) ขนาดของฝูงชนและอาวุธหรือความรุนแรง
รวมทั้งผลกระทบของการแก้ไขปัญหา
(๔.๓) กำาลังและอุปกรณ์ของตำารวจที่มีอยู่
(๔.๔) เวลาที่เป็นเส้นตายหรือที่มีอยู่
(๔.๕) สภาพความเกื้อกูลของสถานที่หรือพื้นที่
ที่ชุมนุมรวมทั้งกระแสความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่
(๔.๖) การยอมรับได้ของสังคมหรือความชอบธรรม
ทางกฎหมาย
(๔.๗) การปฏิบัติจะทำาให้สถานการณ์ดีขึ้นหรือไม่
(๔.๘) หากมีการจับกุมเฉพาะแกนนำาจะทำาให้
สถานการณ์ดีขึ้นมากกว่าการสลายฝูงชนหรือไม่
(๔.๙) มีเส้นทางที่จะให้กลุ่มผู้ชุมนุมออกจาก
ที่ชุมนุมได้ปลอดภัยหรือไม่
(๔.๑๐) ต้องมีการแจ้งเตือนหรือเจรจาตกลงกับ
แกนนำาผู้ชุมนุมให้เข้าใจถึงการใช้ยุทธวิธีการแก้ไขปัญหา โดยจะต้อง
มีการประกาศเป็นภาษาไทยหรือภาษาที่กลุ่มผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เข้าใจ
คำาสั่งแจ้งเตือนหรือการตกลงกับแกนนำานี้ ควรต้องกระทำาเมื่อหน่วยตำารวจ
122