Page 99 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 99
82 ภาษาเพศในสังคมไทย: อํานาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ
สื่อมวลชนกับภาพสะทอนของความเชื่อเรื่องเพศภาวะและเพศวิถี ตลอดจน
ความเกี่ยวโยงกับชุดคานิยมความเชื่อเรื่อง “รักนวลสงวนตัว” ที่สาวไทยพึง
ตองรักษาและปฏิบัติอยางเครงครัด
ความเปนลูกครึ่งที่ไมใชสาวไทยรอยเปอรเซ็นตถูกนํามาใชตอรองเพื่อ
ลดระดับความรุนแรงของการวิพากษวิจารณและการแสดงความคิดเห็นตอ
ประเด็นการ “รักนวลสงวนตัว” และการเปดเผยเนื้อหนังมังสาของเธอ ไดสะทอนวา
สังคมไทยอนุโลมใหความอึ๋มเกิดขึ้นกับ “ผูหญิงที่เปนอื่น” ได และลดความ
รุนแรงในการกลาวหาและการตัดสินคุณคานักรองสาวเพราะความเปนลูกครึ่ง
ปรากฏการณ “นักรองสาวสุดอึ๋ม” ไดฉายภาพของคานิยมและความหมาย
ของความสวยที่ถูกสงผานและตอกย้ําผานทางสื่อกระแสหลักในปจจุบันวา
ความสวยและเซ็กซี่ไมไดมีอาณาบริเวณจํากัดอยูเพียง “เครื่องหนา” เทานั้น
หากหมายรวมไปถึงขนาดและความใหญโตของ “หนาอก/เตานม” ดวย เมื่อ
ผูหญิงบางคนไมไดเกิดมาพรอมกับขนาดของ “หนาอกหนาใจ” อยางที่ตนเอง
หรือสังคมพึงพอใจ พวกเธอก็จําเปนตองอาศัยความกาวหนาทางเทคโนโลยี
การแพทยเขามาชวยดูแลเพิ่มเติมความสวยเซ็กซี่ให
แมวาเปาหมายสําคัญของการทําให “อึ๋ม” คือความพยายามที่จะไปใหถึง
ซึ่งนิยามความสวยและความเซ็กซี่ตามคานิยมเรื่องความงามของยุคสมัย
กระนั้นก็ตาม “ความอึ๋ม” ที่ถูกสรางโดยเทคโนโลยีทางการแพทย ก็ยังถูกนําไป
เปรียบเทียบกับ “ความอึ๋ม” แบบธรรมชาติอีกอยูดี และถูกจัดใหเปนความอึ๋มที่
ดอยกวา คลายกับกรณีสาวประเภทสองที่ผานการผาตัดแปลงเพศที่ถึงอยางไร
ก็ยังคงถูกวิจารณวาไมใชผูหญิงจริง หรือเทียบไมไดกับอวัยวะเพศหญิงแทๆ
ความอึ๋ม เพศภาวะ และสุขภาวะ
นอกจากสื่อมวลชนแลว วงการธุรกิจเสริมความงาม รวมถึงแวดวง
ศัลยกรรมความงามก็เปนอีกปจจัยหนึ่งซึ่งมีสวนอยางยิ่งตอการผลิตชุดความคิด
ความเชื่อเรื่องความอึ๋มของผูหญิง (รวมทั้งของเพศอื่นอยางสาวประเภทสอง)
มลฤดี ลาพิมล