Page 62 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 62
4 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political
Rights หรือ ICCPR) ก็ได้วางหลักเกี่ยวกับความเสมอภาคและการห้ามเลือกปฏิบัติไว้ว่า “บุคคลทั้งปวงย่อม
เสมอกันตามกฎหมาย และมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันตามกฎหมาย โดยปราศจากการเลือก
ปฏิบัติใด ๆ …” นอกจากนี้ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
(International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights หรือ ICESCR) วางหลักเกี่ยวกับ
ความเสมอภาคและการห้ามเลือกปฏิบัติไว้ว่า “รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับที่จะประกันว่าสิทธิทั้งหลายที่ระบุไว้ใน
กติกานี้ปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ …” จะเห็นได้ว่าหลักการความเสมอภาคหรือหลักความเท่าเทียมกัน
และการห้ามเลือกปฏิบัติเป็นหลักส าคัญปรากฏจากตราสารระหว่างประเทศอื่นในกรอบของสหประชาชาติ
รวมทั้งกฎหมายระหว่างประเทศระดับภูมิภาคและถ่ายทอดไปยังกฎหมายภายในของประเทศต่าง ๆ ส าหรับ
ประเทศไทยนั้น มีพันธกรณีตามความตกลงระหว่างประเทศหลายฉบับที่มีหลักการดังกล่าว ในระดับกฎหมาย
ภายในของไทยนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ผ่านมาหลายฉบับได้รับรองหลักความเสมอภาคและ
6
การห้ามเลือกปฏิบัติ
ความเสมอภาคในทางกฎหมายเป็นหลักการที่เป็นพื้นฐานของความยุติธรรม เนื่องจากเป็นหลักที่
เรียกร้องให้มีการปฏิบัติต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ อย่างเท่าเทียมกัน ในที่นี้อาจสรุปหลักเกณฑ์กว้าง ๆ
ของหลักความเสมอภาคได้ว่า จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระส าคัญเหมือนกันอย่างเท่าเทียมกัน และจะต้อง
ปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระส าคัญแตกต่างกันให้แตกต่างกันไปตามลักษณะของเรื่องนั้น ๆ ส่วนประเด็นที่ว่า อะไรเป็น
สิ่งที่มีสาระส าคัญเหมือนกัน อะไรเป็นสิ่งที่มีสาระส าคัญแตกต่างกัน ในเรื่องนี้จะต้องอาศัยการพิจารณาเป็น
เรื่อง ๆ ไปและจะต้องมีเหตุผลอันสมควรรับฟังได้ เช่น การเปรียบเทียบในลักษณะของอาชีพระหว่างต ารวจกับ
ครู โดยลักษณะอาชีพของทั้งสองอาชีพนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ต ารวจมีหน้าที่จับผู้ร้าย ดังนั้นการ
ให้สิทธิแก่ต ารวจในการมีอาวุธและพกพาอาวุธจึงไม่เป็นการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมกันระหว่างอาชีพต ารวจกับ
ครู เพราะสาระส าคัญของอาชีพทั้งสองต่อการมีอาวุธปืนนั้นมีความแตกต่างกัน การเปรียบเทียบเพื่อน าไปสู่ข้อ
สรุปว่ามีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ จึงจ าเป็นต้องเปรียบเทียบก่อนว่าทั้งสองสิ่งนั้นมีสาระส าคัญ
7
เหมือนหรือต่างกันหรือไม่อย่างไร
ส่วนการเลือกปฏิบัตินั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นค าที่ตรงกันข้ามกับความเสมอภาค กล่าวอย่างสั้นที่สุด
การเลือกปฏิบัติก็คือการปฏิบัติโดยไม่เสมอภาคนั่นเอง “การเลือกปฏิบัติ” (Discrimination) จึงหมายถึง การ
กระท าที่ท าให้เกิดความแตกต่างอย่างไร้ความยุติธรรมของปัจเจกชนหรือกลุ่มชน รวมถึงพฤติกรรมที่มีอคติ
(Prejudicial Behavior) ที่ต่อต้านผลประโยชน์ของ (กลุ่ม) คนที่ไร้ซึ่งอ านาจ ภายใต้โครงสร้างทางสังคมนั้น ๆ
อาทิ กลุ่มผู้หญิง กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการและรวมถึงกลุ่มผู้ใช้แรงงาน (Working Class)
โดยทั่วไปในสังคม
6 จาก รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ (น. 1), โดย คณาธิป
ทองรวีวงศ์ และคณะ, 2560, เสนอส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
7 จาก สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เล่ม 7 หลักพื้นฐานสิทธิเสรีภาพและหลักความ
เสมอภาคและหน้าที่ของชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ, โดย บรรเจิด สิงคะเนติ, 2552, กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.