Page 369 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 369
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 311
บทที่ 5
ผลส ารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ
ในบทนี้เป็นการแสดงผลการส ารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิชองผู้สูงอายุ เกี่ยวกับกรณี
การเลือกปฏิบัติ โดยวิธีการส ารวจจากผู้เกี่ยวข้อง 3 วิธีการ ดังนี้
1. การส ารวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ เป็นการส ารวจโดยการใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบ
ตัวต่อตัว (Face-to-face interview) ด้วยแบบสอบถาม ส าหรับกลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์ คือ ผู้สูงอายุที่มี
อายุ 60 ปีขึ้นไปจ านวน 213 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มจากจังหวัดที่มีจ านวนประชากรสูงอายุมากที่สุดของแต่
292
ละภาคหลัก 4 ภาค ได้แก่ กรุงเทพมหานครในภาคกลาง จังหวัดนครราชสีมาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดเชียงใหม่ในภาคเหนือ และ จังหวัดนครศรีธรรมราชในภาคใต้ โดยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ
(Systematic Random Sampling) และได้แบ่งประชากรตามช่วงของอายุ ทั้งหมด 3 ช่วง ได้แก่ อายุ
60 - 69 ปี, อายุ 70 - 79 ปี และ อายุ 80 ปีขึ้นไป เป็นเพศชายและหญิง โดยท าการเลือกสุ่มเก็บข้อมูลทั้งเขต
ในเมืองและเขตนอกเมืองในทุกจังหวัดที่เลือกศึกษา ด าเนินการส ารวจในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม 2561
(รายละเอียดแสดงในภาคผนวกที่ 1) ส าหรับข้อค าถามต่างๆในแบบสอบถาม คณะผู้วิจัยได้ให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่
เชี่ยวชาญทางด้านประชากรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์ คณะสถิติประยุกต์
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ช่วยตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา และท าการทดสอบแบบสอบถาม
ก่อนที่จะส ารวจรวบรวมข้อมูลต่อไป
2. การท า Focus group เป็นการระดมความคิดเห็นจากกลุ่มเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ และนักวิชาการ
หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2561 ณ ห้องประชุมของส านักงานคณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติ (รายละเอียดแสดงในภาคผนวกที่ 2)
3. การสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นการสัมภาษณ์รายบุคคล ผู้แทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ
ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง โดยการนัดหมายการเข้า
สัมภาษณ์ ณ ที่ท างาน หรือเป็นการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (รายละเอียดแสดงในภาคผนวกที่ 3)
การสรุปรายงานผลการส ารวจโดยวิธีต่างๆข้างต้น จะน าเสนอตามล าดับเนื้อหาเพื่อวิเคราะห์ความ
คิดเห็นของผู้สูงอายุเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติที่มีประสบการณ์ และการเข้าใช้บริการและการรับรู้สิทธิในการ
คุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุใน 3 ประเด็นสิทธิที่ได้ก าหนดขึ้นในการศึกษา คือ การคุ้มครองสิทธิด้านเศรษฐกิจ
และสังคม การคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต และการคุ้มครองสิทธิด้านกระบวนการยุติธรรม โดย
แบ่งการรายงานผลการส ารวจ เป็น 4 ส่วน ดังนี้ คือ ส่วนที่ 1 เป็นการน าเสนอผลการส ารวจทัศนคติของกลุ่ม
ตัวอย่างผู้สูงอายุ ส่วนที่ 2 เป็นการสรุปผลการประชุมระดมความคิดเห็น ส่วนที่ 3 เป็นการสรุปผลการ
สัมภาษณ์เชิงลึก และ ส่วนที่ 4 เป็นการสรุปผลความคิดเห็นต่อร่างรายงานฉบับสมบูรณ์
292 จาก “ระบบสถิติทางการลงทะเบียน” กรมการปกครอง ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ้นวาคม 2559 อ้างใน “ข้อมูลสถิติ
จ านวนผู้สูงอายุประเทศไทย ปี 2559”, 2559, สืบค้นจาก http://www.dop.go.th