Page 368 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 368

310 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)


             4.4 ข้อท้าทายที่น่าสนใจเกี่ยวกับสิทธิของผู้สูงอายุตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

                    จากตารางการเปรียบเทียบแสดงให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
             ยังคงหลักการของรัฐธรรมนูญฯ ฉบับ 2550 และรัฐธรรมนูญฯ ฉบับ 2540 ไว้ในบางมาตรา บางลักษณะ ดังนี้

                    ในประเด็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล แต่เดิมนั้นเคยก าหนดให้การใช้สิทธิของบุคคลต้อง
             เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ แต่รัฐธรรมนูญในฉบับปัจจุบันได้แก้ไขให้เป็น “ให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและ
             เสรีภาพได้ทันทีไม่ต้องรอให้กฎหมายบัญญัติขึ้น” ซึ่งการบัญญัติเช่นนี้ ท าให้การตีความสิทธิของบุคคลรวมทั้ง

             สิทธิของผู้สูงอายุเปิดกว้างมากยิ่งขึ้น นั้นหมายความว่าผู้สูงอายุสามารถมีสิทธิต่าง ๆ ตราบใดที่ไม่มีกฎหมาย
             ห้ามมิให้กระท าการนั้น ๆ นอกจากนี้ความท้าทายของรัฐธรรมนูญ ฯ ฉบับ 2560 ที่ให้ความส าคัญกับการเลือก
             ปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะเหตุความแตกต่างทางด้านอายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ
             จะกระท ามิได้ ซึ่งส่วนนี้แสดงให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน น้อมรับหลักการที่เป็นสากลและให้ความส าคัญ
             กับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา

                    ในประเด็นสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐนั้น รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ยังคงหลักการเดิมในการ
             ให้ความช่วยเหลือบุคคลที่มีอายุเกิน 60 ปี และมีรายได้ไม่เพียงพอ ดังที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับอดีต แต่ทั้งนี้
             ได้วางหลักการที่เพิ่มขึ้นจากการช่วยเหลือในเรื่องของความยากไร้ และยังมุ่งเน้นถึงการคุ้มครองและป้องกัน

             ผู้สูงอายุจากการถูกใช้ความรุนแรงรวมตลอดถึงการบ าบัดฟื้นฟูอีกด้วย
                    อย่างไรก็ตาม ในสิทธิอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิเงินออมเพื่อการด ารงชีพ สิทธิส่วนบุคคล สิทธิใน
             ทรัพย์สิน สิทธิในการเลือกที่อยู่อาศัย สิทธิเสรีภาพในเคหะสถาน สิทธิในการประกอบอาชีพ สิทธิที่จะได้รับ
             หลักประกันต่าง ๆ สิทธิในการได้รับบริการทางสาธารณสุข สิทธิในการได้รับความคุ้มครองและช่วยเหลือจาก
             ความรุนแรงและการถูกละเมิด จนถึงสิทธิความสามารถต่าง ๆ ตามกฎหมายและสิทธิในกระบวนการยุติธรรม

             จะเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันหรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีการบัญญัติสิทธิ
             ของบุคคลตามหลักสิทธิมนุษยชน และสิทธิที่บุคคลพึงได้รับอย่างครบถ้วนและรอบด้าน แต่อย่างไรก็ตาม สิทธิ
             ดังกล่าวนั้นได้ระบุไว้เป็นการทั่วไป บุคคลทุกประเภท ทุกระดับ ทุกสภาพการณ์สามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้อย่าง

             เท่าเทียมกัน มิได้เฉพาะเจาะจงหรือให้สิทธิแก่ผู้สูงอายุเป็นพิเศษแต่อย่างใด
   363   364   365   366   367   368   369   370   371   372   373