Page 80 - กฎหมายและระเบียบงานด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 80
๒
(๒) เป็นเรื่องในรายงานที่จัดท าโดยองค์การสหประชาชาติหรือหน่วยงานหรือกลไกขององค์การ
สหประชาชาติ หรือรายงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประชุมของสหประชาชาติ
(๓) เป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้ชี้แจงแล้ว
(๔) เป็นเรื่องที่คณะกรรมการเคยพิจารณาและได้ชี้แจงหรือจัดท ารายงานตามหน้าที่และ
อ านาจแล้ว หรืออยู่ในระหว่างการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการ
(๕) เป็นเรื่องที่มีลักษณะตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๓๙
ในกรณีที่ความปรากฏในภายหลังว่าเรื่องที่คณะกรรมการมีมติรับไว้ด าเนินการตรวจสอบ
เป็นเรื่องที่มีลักษณะตามวรรคสอง ให้ส านักงานเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาสั่งยุติการตรวจสอบ
ตามระเบียบนี้
ข้อ ๖ ระยะเวลาที่ก าหนดไว้ตามระเบียบนี้ คณะกรรมการอาจย่นหรือขยายได้ตามที่เห็นสมควร
หมวด ๒
การตรวจสอบ
ข้อ ๗ เมื่อคณะกรรมการพิจารณามีมติให้ด าเนินการตรวจสอบเรื่องใดในรายงานสถานการณ์
สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรมแล้ว ให้ส านักงานด าเนินการตรวจสอบ
ข้อเท็จจริงของสถานการณ์นั้น ให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่คณะกรรมการก าหนด
ข้อ ๘ ในการตรวจสอบตามข้อ ๗ ให้น าระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วย
หลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ. ๒๕๖๑ หมวด ๓ การตรวจสอบ
การละเมิดสิทธิมนุษยชน มาใช้บังคับโดยอนุโลม เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
หมวด ๓
การจัดท ารายงานการตรวจสอบ
และการเผยแพร่
ข้อ ๙ เมื่อได้ด าเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเสร็จสิ้นแล้ว ให้ส านักงานจัดท ารายงานผล
การตรวจสอบเสนอคณะกรรมการภายในเวลาและตามแบบที่คณะกรรมการก าหนด
ข้อ ๑๐ รายงานผลการตรวจสอบที่คณะกรรมการมีมติเห็นชอบแล้ว ให้ถือเป็นการชี้แจงและ
รายงานตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๒๖ (๔) และมาตรา ๔๔ และให้ส านักงานด าเนินการเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
เป็นการทั่วไปโดยเร็ว
การเผยแพร่ตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยให้เผยแพร่ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของส านักงาน
เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก
74