Page 76 - กฎหมายและระเบียบงานด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 76
๒
ได้ข้อมูลรอบด้านและดำเนินการเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบหรือป้องกันมิให้
เกิดสถานการณ์อันมีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนในวงกว้าง คณะกรรมการอาจมีมติให้รับเรื่องร้องเรียน
ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ไว้เป็นคำร้องเพื่อดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
โดยวิธีการไต่สวนสาธารณะ
(๑) กรณีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย นโยบาย หรือกฎ ที่ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ที่มีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนในวงกว้าง
(๒) กรณีที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวม
(๓) กรณีเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง
(๔) กรณีที่มีผู้ร้องจำนวนมากร้องเรียนในประเด็นเดียวกัน
(๕) กรณีอื่นที่คณะกรรมการเห็นสมควร
มติของคณะกรรมการตามข้อนี้ให้เป็นที่สุด
ข้อ ๖ ให้สำนักงานแจ้งมติตามข้อ ๕ ให้ผู้ร้องทราบเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่
คณะกรรมการมีมติดังกล่าว เว้นแต่ผู้ร้องมิได้แจ้งสถานที่อยู่ที่จะติดต่อได้
ข้อ ๗ เมื่อคณะกรรมการมีมติให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยวิธีการไต่สวนสาธารณะ
ให้สำนักงานจัดทำขอบเขตการดำเนินการเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการ โดยอย่างน้อยต้องมี
รายละเอียด ดังต่อไปนี้
(๑) ความเป็นมา
(๒) ประเด็นการตรวจสอบ
(๓) ข้อกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง
(๔) กลไกและวิธีดำเนินการ
(๕) เป้าหมายการดำเนินการ
(๖) ระยะเวลาดำเนินการ
(๗) งบประมาณ
(๘) พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบคำร้องและเจ้าหน้าที่สำนักงานที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๘ เมื่อคณะกรรมการเห็นชอบขอบเขตการดำเนินการตามข้อ ๗ ให้สำนักงานเสนอ
รายชื่อบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการ ทั้งนี้ ตามระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยหลักเกณฑ์และ
วิธีการแต่งตั้ง และการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ
ข้อ ๙ ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยวิธีการไต่สวนสาธารณะเพื่อให้ได้มา
ซึ่งข้อเท็จจริงให้ดำเนินการด้วยวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(๑) การแสวงหาข้อเท็จจริงจากบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
70