Page 77 - กฎหมายและระเบียบงานด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 77
๓
(๒) การรับฟังความเห็นจากพยานผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ
(๓) การลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง
(๔) การจัดประชุมสาธารณะหรือประชุมวิชาการ
(๕) การจ้างบุคคลหรือสถาบันรวบรวมข้อมูลหรือศึกษา
(๖) การอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ
นอกจากการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้นำความในหมวด ๓ การตรวจสอบการละเมิด
สิทธิมนุษยชน ของระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิด
สิทธิมนุษยชน มาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
ข้อ ๑๐ ในระหว่างการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยวิธีการไต่สวนสาธารณะ
คณะอนุกรรมการหรือสำนักงานอาจขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเผยแพร่ความก้าวหน้า
ให้ประชาชนทราบเป็นระยะก็ได้ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย
ข้อ ๑๑ ให้ดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยวิธีการไต่สวนสาธารณะให้แล้ว
เสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามข้อ ๘
ข้อ ๑๒ เมื่อได้ดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยวิธีการไต่สวนสาธารณะเสร็จสิ้น
ให้จัดทำรายงานเสนอคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ตรวจสอบเสร็จสิ้น
รายงานผลการตรวจสอบอย่างน้อยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
(๑) ข้อเท็จจริงที่ได้จากการตรวจสอบ
(๒) ข้อกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง
(๓) ความเห็นพร้อมด้วยเหตุผลที่มีความเห็นดังกล่าว
(๔) ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ให้สำนักงานจัดทำรายงานให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการมีมติ
เห็นชอบรายงานในเรื่องนั้น
รายงานผลการตรวจสอบตามข้อนี้ ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
มติของคณะกรรมการตามข้อนี้ให้เป็นที่สุด
ข้อ ๑๓ ให้สำนักงานแจ้งผลการตรวจสอบพร้อมด้วยรายงานไปยังผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้
(๑) บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ ๑๒ วรรคสอง (๔)
(๒) ผู้ร้อง เว้นแต่ผู้ร้องมิได้แจ้งสถานที่อยู่ที่จะติดต่อได้
การแจ้งผลตามวรรคหนึ่ง ให้ทำเป็นหนังสือภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการตามข้อ ๑๒
วรรคสาม เสร็จสิ้น
71