Page 83 - กฎหมายและระเบียบงานด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 83
๒
(๑) มาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน
(๒) ข้อเสนอแนะในรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศ
(๓) ข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมตลอดทั้ง
การแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือค าสั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
(๔) ข้อเสนอในการสร้างเสริมให้ทุกภาคส่วนของสังคมตระหนักถึงความส าคัญของสิทธิมนุษยชน
(๕) ความคืบหน้าหรือผลการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษแทนผู้เสียหาย
(๖) การให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน
กรณีกรรมการพบเห็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและจ าเป็นต้องด าเนินการโดยเร่งด่วน
(๗) ข้อเสนอในรายงานผลการปฏิบัติงานประจ าปี
(๘) ข้อเสนอในรายงานคู่ขนานตามหนังสือสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณี
ที่จะต้องปฏิบัติตามที่จัดท าโดยคณะกรรมการ
(๙) ข้อเสนอในรายงานคู่ขนานการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review)
ของประเทศไทยที่จัดท าโดยคณะกรรมการ
(๑๐) กรณีอื่นตามที่คณะกรรมการก าหนด
ข้อ ๖ ระยะเวลาตามที่ก าหนดไว้ในระเบียบนี้ ส านักงานอาจเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณา
ย่นหรือขยายได้ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ให้แสดงเหตุผล ความจ าเป็น หรือข้อขัดข้อง ที่ต้องย่นหรือขยาย
ระยะเวลาในแต่ละเรื่องเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการด้วย
ข้อ ๗ ในกรณีที่มีความจ าเป็น ส านักงานอาจเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแต่งตั้งพนักงาน
เจ้าหน้าที่ให้ท าหน้าที่ติดตามผลการด าเนินการกรณีหนึ่งกรณีใดก็ได้ ทั้งนี้ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๘ กรณีที่ระเบียบนี้ก าหนดให้ส านักงานติดตามผลการด าเนินการที่เสนอต่อรัฐสภาหรือ
คณะรัฐมนตรี การนับระยะเวลาตามระเบียบนี้ ให้นับตั้งแต่วันที่ส านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ส านักงานเลขาธิการวุฒิสภา หรือส านักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ได้รับเรื่อง
ข้อ ๙ กรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือมีหลักฐานอื่นใดว่ารัฐสภา คณะรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ
หรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี ได้ด าเนินการตามรายงานหรือข้อเสนอแนะของคณะกรรมการแล้ว
ส านักงานอาจน าข้อเท็จจริงหรือหลักฐานนั้นเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาต่อไปตามระเบียบนี้ก็ได้
77