Page 70 - กฎหมายและระเบียบงานด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 70
ข้อ ๓๑ ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการอาจก าหนดพยานผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อมาให้ความเห็นประกอบการพิจารณา ส่วนการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาให้ความเห็นประกอบการพิจารณานั้น
ให้เป็นหน้าที่และอ านาจของกรรมการที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๓๒ ในการด าเนินการเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบ และป้องกัน
มิให้เกิดสถานการณ์อันมีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนในวงกว้าง คณะกรรมการอาจน ากระบวนการ
ไต่สวนสาธารณะ การพิจารณารวมค าร้อง การจ้างที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ การศึกษาวิจัย หรือการอื่นใด
อันสมควรแก่กรณี มาใช้ประกอบการตรวจสอบในเรื่องที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(๑) กรณีที่สาเหตุของปัญหาเกี่ยวข้องกับนโยบาย กฎหมาย กฎ รวมถึงระบบที่ก่อให้เกิด
การเลือกปฏิบัติ
(๒) กรณีเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง
(๓) กรณีที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวม
(๔) กรณีอื่นที่คณะกรรมการเห็นสมควร
หลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการด าเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ
ก าหนด
หมวด ๔
การจัดท ารายงาน และการแจ้งผล
ข้อ ๓๓ เมื่อได้ด าเนินการตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้ว หากพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบค าร้องเห็น
ว่ามีการกระท าหรือการละเลยการกระท าอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ให้จัดท ารายงานผลการตรวจสอบ
เสนอคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตรวจสอบเสร็จสิ้น
รายงานผลการตรวจสอบอย่างน้อยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อของผู้ร้องและผู้ถูกร้อง เว้นแต่กรณีที่คณะกรรมการให้ปกปิดชื่อ หรือเป็นเรื่องที่
คณะกรรมการเห็นสมควรให้มีการตรวจสอบ
(๒) สรุปข้อเท็จจริงตามเรื่องร้องเรียนและความประสงค์ของผู้ร้อง เว้นแต่เป็นเรื่องที่คณะกรรมการ
เห็นสมควรให้มีการตรวจสอบ
(๓) รายละเอียดข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับพฤติการณ์และสาเหตุของการละเมิดสิทธิมนุษยชน
(๔) ข้อกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง
(๕) ความเห็นพร้อมด้วยเหตุผลที่มีความเห็นดังกล่าว
(๖) มาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้ง
การเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งต้องก าหนดโดยชัดแจ้งว่าบุคคลหรือ
หน่วยงานใด มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายใดและด้วยวิธีการอย่างไร รวมทั้งระยะเวลาในการด าเนินการ
ตามมาตรการหรือแนวทางดังกล่าว
ในกรณีที่การแก้ไขปัญหาหรือการป้องกันเพื่อมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนเรื่องใดหรือ
ลักษณะใดเกิดขึ้นอีก จ าเป็นต้องมีการก าหนดมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชน หรือการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือค าสั่งใด เพื่อให้สอดคล้องกับ
หลักสิทธิมนุษยชน อาจจัดท าข้อเสนอแนะตามมาตรา ๔๒ ไว้ในรายงานผลการตรวจสอบด้วยก็ได้
64